ประวัติวัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น(ธ)

ประวัติวัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

วัดศรีจันทร์ เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง และเป็นวัดที่มีความสำคัญวัดหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่เลขที่ 681 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ในย่านชุมชน  ค้าขายล้อมรอบทุก ๆ ด้าน ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 100 เส้น วัดศรีจันทร์มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 707 และมีที่ดินตั้งวัด 10,179   ตารางวา หรือ 25 ไร่ 1 งาน 79    ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ 2126 มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ดินต่าง ๆ ดังนี้

ทิศเหนือ        จดที่ดินของนายกิ้มทอง แซ่ตั้ง
ทิศใต้        จดถนนศรีจันทร์
ทิศตะวันออก    จดถนนรอบเมืองและที่ดินของนางจอม สุวรรณสม
ทิศตะวันตก    จดถนนสามัคคีอุทิศ

วัดศรีจันทร์ มีสำนักงานเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น(ธรรมยุต) สำนักงานยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดขอนแก่น สำนักงานมูลนิธิพระครูวิเวกวัฒนาทร (บุญเพ็ง กัปปโก) มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ชาวบ้านและชาวตลาดเมืองขอนแก่น เลื่อมใสศรัทธาให้ความอุปถัมภ์บำรุง เคารพนับถือ  เป็นส่วนมากตลอดมา เป็นวัดเก่าแก่ตั้งมาเป็นเวลานานปีคู่กับเมืองขอนแก่น มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับผู้นำทางพระพุทธศาสนาและ      ผู้ปกครองฝ่ายบ้านเมืองหลายท่านและมีเจ้าอาวาสหลายท่านได้อยู่อาศัยก่อสร้าง บูรณะซ่อมแซมสืบต่อกันมาหลายสมัย สภาพของวัดก็มีการก่อสร้างซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงตามยุคตามสมัยเรื่อยมา ๆ มา จนทุกวันนี้ บางท่านก็เป็นเจ้าอาวาสเป็นเวลา น้อยปี บางท่านก็อยู่นานจนถึงกับอายุขัยเป็นเกณฑ์ก็มี แต่ละท่านที่อยู่มาแล้วต่างก็เสียสละกำลังกายและกำลังจิตใจสร้างความเจริญ ให้แก่วัดตามความสามารถเป็นลำดับมา แต่ไม่มีใครที่จะเขียนประวัติความเป็นมาของวัดตั้งแต่เบื้องแรก จนถึง ปัจจุบัน ให้เป็นหลักฐาน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบกันจริงจังไว้เลย มีบ้างก็แต่บางครั้งบางตอนเท่านั้น จะเป็นเพราะต่างท่านก็ต่างมุ่งไปในทางอื่นเสียส่วนมาก ทั้งเข้าใจว่าสภาพทุกอย่างที่ทำไปแล้ว ก็คงจะปรากฏเป็นอนุสรณ์แก่คนภายหลังอยู่ที่วัดนั้นเอง จึงไม่ได้เขียนไว้ อีกประการหนึ่ง เข้าใจว่าสมัยก่อนความรู้ในการเขียนตามหลักภาษาก็ไม่เจริญ หรืออาจจะเขียนไว้แล้วแต่ผู้อยู่สืบต่อมาคงจะไม่ได้เขียนติดต่อกันไว้ก็ได้ แต่มาบัดนี้ประเทศชาติบ้านเมืองเจริญขึ้น การศึกษาเจริญขึ้น การก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมต่าง ๆ ทันสมัยขึ้นตามลำดับ สภาพต่าง ๆ จึงได้เปลี่ยนแปลงตามกาลสมัยจะลืมเลือนจากความทรงจำของอนุชนภายหลังตามลำดับ จนจะไม่ทราบว่า ใครเป็นผู้สร้างวัด ใครเป็นเจ้าอาวาสมากี่ท่าน เมื่อความสำคัญคือความเจริญรุ่งเรืองของวัดปรากฏขึ้นกับความสนใจของหมู่ชนใน ปัจจุบันมีมากขึ้น ความอยากรู้อยากเห็นความเป็นมาของมูลเหตุความเป็นมาของวัด จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อความประสงค์จะให้ท่านผู้ศึกษาได้ทราบหรือเยาวชนผู้เกิดสุดท้ายภายหลัง ได้รู้ประวัติการสร้างและความเป็นมาของวัดศรีจันทร์ การเขียนประวัติวัดนั้นจึงอาศัยการค้นคว้าจากหนังสือหลายอย่างเช่นประวัติ เมืองขอนแก่นบ้าง ประวัติเจ้าอาวาสองค์ก่อน ๆ เท่าที่ปรากฏอยู่บ้าง สืบถามจากท่านผู้เกี่ยวข้องกับผู้เริ่มสร้างวัดที่ยังมีชีวิตอยู่หลายท่าน บ้าง และรวบรวมจัดทำเป็นประวัติขึ้นและการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ขยายอาณาเขตของวัด เทียบเคียงได้กับอันดับการตั้งเมืองขอนแก่น อันดับผู้ว่าราชการเมือง (จังหวัด) อันดับญาคูหลักเมืองตามลำดับ จนถึงปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมา

เจ้าอาวาสรูปที่ 1 (ประมาณ พ.ศ. 2368 – 2432)
วัดศรีจันทร์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2368 โดยท่านญาคูหลักคำ (พิมพ์) เป็นผู้รวบรวมศรัทธาประชาชนในการก่อสร้าง และเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านมีภูมิลำเนาอยู่บ้านพระลับ ได้บรรพชา อุปสมบทจากสำนักพระอุปัชฌาย์ใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่าเมื่อสมัยที่เมืองขอนแก่นย้ายจากบ้านพันชาด ฝั่งหนองเหล็ก บ้านโนนเมือง ตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม (ปัจจุบัน) มาตั้งอยู่ที่บ้านโนนทัน ทิศตะวันออกของบึงบอน   (บึงแก่นนคร) นั้นท่านได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดสามจีน ที่กรุงเทพ ฯ ประมาณ พ.ศ. 2390 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านศึกษาเล่าเรียนมูลเดิม และความรู้ในพระพุทธศาสนาจนจบ อีกทั้งท่านได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ เช่น เล่นแร่แปรธาตุ หุงปรอท เป็นต้น ต่อมาอาจารย์เดิมของท่านซึ่งอยู่ภูเขาควายในประเทศลาว(สมัยที่ยังขึ้นต่อ ฝรั่งเศส) ป่วยหนักท่านจึงเดินทางจากกรุงเทพฯไปประเทศลาว พร้อมสหธรรมิก 3 รูป คือ ญาคูจุลลา(ภายหลังได้เป็นญาคูหลักเมืองที่บ้านดอนบม)และญาคูท้าว(ภายหลังได้ เป็นญาคูหลักเมืองที่บ้านทุ่ม)ต่อมาอาจารย์ของท่านได้มรณภาพ และหลังจากจัดงานบำเพ็ญกุศลฌาปนกิจและทำบุญอุทิศให้อาจารย์ของท่านแล้ว ท่านได้เดินทางกลับมายังมาตุภูมิเดิมของท่านที่บ้านพระลับ โดยจำพรรษาที่วัดศรีนวล หลังออกพรรษาในปีเดียวกันนี้ คือปี พ.ศ. 2398 ท่านได้ออกมาบูรณะวัดศรีจันทร์อีกครั้งซึ่งขาดผู้ดุแลรักษาในช่วงที่ท่านไม่ อยุ่มีแต่พระอายุพรรษายังน้อยแค่ 1-2 พรรษาเท่านั้น สร้างวัดขึ้นใหม่ที่โคกป่าโจด ใกล้ฝั่งหนองแสบงอยู่ด้านทิศเหนือของวัดศรีนวลตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดศรีจันทร์” สันนิษฐานว่า เพื่อให้มีชื่อใกล้เคียงกับวัดศรีนวล (วัดเดิมของท่าน) หรืออาจเพราะว่าวัดที่สร้างใหม่นี้เป็นโคกป่าโจดมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่หนา แน่นบริเวณ ตอนล่างมีป่าโจดหนาทึบ มีสัตว์อาศัยอย่างชุกชม เวลากลางคืนวันพระจันทร์เต็มดวงแสงสว่างของดวงจันทร์ส่องสว่างกระทบต้นไม้ และใบไม้เกิดประกายดุจประหนึ่งว่ารัศมีแห่งพระจันทร์เปล่งลงมาให้ความสวยงาม สดชื่นรื่นรมย์ในธรรมชาติ ท่านจึงถือเอานิมิตหมายตรงนี้ว่าวัดนี้คงจะเจริญรุ่งเรืองและ เป็นสิริมงคลแก่ผู้อาศัย เป็นศักดิ์ศรีแก่บ้านเมืองในภายภาคหน้าจึงตั้งชื่อว่าวัดศรีจันทร์ แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดนอก” เรียกวัดศรีนวลว่า “วัดใน” เพราะวัดตั้งอยู่ในคุ้มบ้านพระลับ ส่วนวัดศรีจันทร์ ตั้งอยู่นอกคุ้มมีบ้านเรือนอยู่น้อยและกระจัดกระจายออกมาทางหนองแสบง
การพัฒนาวัดเริ่มขึ้นในต้นฤดูหนาวปี พ.ศ. 2398 ตรงกับสมัยของหลวงศรีวรวงศ์(ท้าวอู่)เป็นเจ้าเมืองที่บ้านโนนทัน โดยท่านได้พิจารณาเห็นว่าโคกป่าโจดแห่งนี้เป็นที่เงียบสงบไม่พลุกพล่าน เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม ทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐาน และปริยัติเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังเหมาะสมกับการเจริญคาถาเวทย์มนต์ต่างๆที่ท่านถนัด มีการทำแร่แปรธาตุ หุงปรอท  เป้นต้น โดยที่ท่านได้แยกออกไปปลูกสร้างกุฏิหลังเล็ก ๆ พอได้อาศัย  (ในบริเวณที่ตั้งอาคารพาณิชย์ของวัดในปัจจุบัน) เพื่อเป็นที่บำเพ็ญจิตตภาวนากรรมฐาน  และเวทมนต์คาถาจนเกิดความชำนาญนิชาที่ท่านมีความถนัด จนชาวบ้านเกิดความเล่าลือกันว่า ท่านได้ญารวิเศษจนสามารถล่องหนหายตัวย่นระยะทางได้ ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในการประพฤปฏิบัติและปฏิปทาของท่านด้านการ ปฏิบัติก็ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ด้านการศึกษาท่านให้การศึกษากับศิษย์ทุกคนที่มาอยู่อาศัยภายในวัด และได้รับเถราภิเษก(ฮด)ขึ้นเป็นญาคู ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเป็นญาคูหลักเมือง(เจ้าคณะจังหวัด)และได้รับเถรา ภิเษกยกขึ้นเป็นญาคูหลักคำครองวัดศรีจันทร์ ทำให้วัดก็เจริญเจริญรุ่งเรืองมากและเจริญมาตามลำดับ ในบั้นปลายชีวิตของท่านข่าวว่า ท่านได้รับนิมนต์จากเพื่อนสหธรรมิกและศิษยานุศิษยืที่อยู่กรุงเทพฯ ปรารภกับท่านมีความประสงค์อยากให้ไปถวายสักการะครูบาอาจารย์ของท่านที่อยู่ กรุงเทพฯ ที่ท่านเคยได้เคยอาศัยและศึกษาเล่าเรียนในสมัยที่เป็นพระหนุ่ม
ท่านได้เดินทางไปกรุงเทพ ฯ อีครั้ง  การเดินทางครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งก่อน การเดินทางครั้งก่อนนั้นเป็นพระหนุ่มอายุประมาณ 30 ปี แต่ครั้งนี้อายุของท่านประมาน 80-90 ปี ด้วยความกตัญญู ความเคารพในบูรพาจารย์ ทำให้จิตใจของท่านมีความเข้มแข็งอดทนพร้อมที่จะเดินทางด้วยเท้าลงไปกรุงเทพฯ (สมัยนั้นยังไม่มีรถยนต์) แม้วัยของท่านจะอายุ 80-90 ปี แมัจิตใจจะเข้มแข็ง แต่ร่างกายร่วงโรยตามกาลเวลา ยากที่จะถึงเป้าหมาย และในระหว่างทางเกิดอาพาธหนักมรณภาพที่จังหวัดอยุธยา ประมาณปี พ.ศ. 2432  รวมระยะเวลาที่ท่านดำรงตำแห่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ 64 ปี
สำหรับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในสมัยของท่านได้รื้อถอนและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ที่เหลือไว้เป็นอนุสรณ์ คือ กลองเพลใหญ่ 1 ใบ ปัจจุบัลอยู่บนหอกลอง หอระฆัง ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระอุโบสถและยังใช้อยู่
ซึ่งสิ่งก่อสร้างในสมัยท่านเป็นเจ้าอาวาสมีการก่อสร้างถาวรวัตถุ ดังนี้
- สร้างกุฏิอาคารไม้ห้าห้อง 1 หลัง
- สร้างอาคารไม้สามห้อง 1 หลัง
- สร้างกลองเพลงใหญ่ 1  ใบ (ใช้ในปัจจุบัน)  บนหอกลอง หอระฆังด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระอุโบสถ
- สร้างอุโบสถ เป็นอาคารไม้ก่ออิฐ หลังคาแบบพรมสี่หน้า มุ่งด้วยไม้กระดาน 1 หลัง
เจ้าอาวาสรูปที่ 2  (ประมาณ พ.ศ. 2432 – 2437)
ญาคูสิ่ว เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2 ภูมิลำเนาและการบรรพชา อุปสมบทจากสำนักใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่าหลังจาก  เจ้าอาวาสรูปแรกมรณภาพแล้วท่านได้รับมอบหมายให้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสสืบ ต่อมาจนถึง พ.ศ. 2437 บ้านเมืองเกิดโรคระบาด(กาฬโรค) ท่านจึงย้ายกลับไปพำนักในภูมิลำเนาเดิม
เจ้าอาวาสรูปที่ 3 (ประมาณ พ.ศ. 2437 – 2442)
ญาคูอินทร์ เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่บ้านศรีฐาน จังหวัดขอนแก่น ได้บรรพชาอุปสมบทจากสำนักใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่าท่านเป็นศิษย์ที่เคยอยู่ร่วมกับญาคูหลักคำหลายปี เมื่อญาคูสิ่วกลับภูมิลำเนาเดิมท่านจึงได้รับภาระเป็นเจ้าอาวาสสืบมาต่อมา ท่านได้ลาสิกขาบทไป
เจ้าอาวาสรูปที่ 4 (ประมาณ พ.ศ. 2442 – 2446)
ญาคูสอน เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 4 ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านโคกสี ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น บรรพชาอุปสมบทจากสำนักใดไม่ปรากฏทราบเพียงว่าท่านได้รับหน้าที่เป็นเจ้า อาวาสต่อจากญาคูอินทร์ต่อมาท่านก็ได้ย้ายไปศึกษาต่อในในสำนักวัดอื่น
เจ้าอาวาสรูปที่ 5 (ประมาณ พ.ศ. 2446 – 2454)
ญาคูปาน เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 5 ภูมิลำเนาไม่ปรากฏทราบเพียงว่าท่านได้ย้ายมาจากสำนักวัดทางอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ได้มาอยู่ศึกษาเล่าเรียนมูลกัจจายน์เดิม อยู่กับญาคูหลักคำ เป็นเวลาหลายปี ต่อมาเมื่อญาคูสอนย้ายไปแล้ว ท่านจึงรับภาระเป็นเจ้าอาวาสสืบมา และได้ทำการซ่อมแซมปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรม ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ อยู่ต่อมาท่านได้ลาสิกขาบทไป
เจ้าอาวาสรูปที่ 6 (ประมาณ พ.ศ. 2454 – 2467)
ญาคูต้น เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 6 ตรงกับสมัยพระยาพิศาลเกษตร(อรุณ อมาตยกุล) พระยาภักดีศรีสุนทรราษฏร์ และพระยาพิศาลสารเกษตร(พร พิมพสูตร)เป็นผู้ว่าราชการเมือง ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านพระลับ บรรพชาอุปสมบทจากสำนักใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่าหลังจากเจ้าอาวาสรูปก่อนลาสิกขาบทแล้ว  ญาคูต้นได้รับภาระหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสแทนสืบมา ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมีความรู้ทางหลักภาษาและมูลกัจจายน์เดิมเป็นอย่างดี ได้มีพระภิกษุสามเณรจากต่างสำนักมาพำนัก และศึกษาเล่าเรียนกับท่านเป็นจำนวนมาก ประชาชนให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก  ต่อมาได้รับการเถรภิเษก(ฮด) เป็นชั้น ญาคู ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด(เจ้าคณะตำบล) ได้รับภาระหน้าที่บริหารกิจการคณะสงฆ์ในเขตตำบลพระลับ  ต่อมาคณะสงฆ์ได้ส่งพระครูพิศาลอรัญญเขตร (จันทร์ เขมิโย ป.ธ.3) มาอยู่วัดศรีจันทร์และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดโดยมี  พระครูพิศาลอรัญญเขตร (บุญมี) วัดกลางเมืองเก่า เป็นเจ้าคณะจังหวัด ในปี พ.ศ. 2467 ท่านญาคูต้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวงพล(เจ้าคณะอำเภอ) จึงลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ เพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าคณะแขวงพล
เจ้าอาวาสรูปที่ 7  (พ.ศ. 2467 – 2475)
พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์  เขมิโย ป.ธ.3) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 7 เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี เกิดที่บ้านหนองขอน ตำบลขัวสะพาน อำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปฐมวัยบิดามารดาของท่านได้ฝากให้เรียนหนังสืออยู่กับพระครูสิงหบุรา จารย์ (อินทร์) เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี อายุ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับท่านพระครูสิงห์ฯ เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบท  ณ  พัทธสีมาวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร เจ้าคุณ อุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ และอยู่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักพระอุปัชฌาย์จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค   หลังจากนั้นได้ออกช่วยกิจการพระศาสนาในต่างจังหวัด และในปี 2466 คณะสงฆ์ได้ส่งท่านให้มาปฏิบัติศาสนกิจที่วัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับตำแหน่เป้นเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น และในปีต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งแผ็นเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ (2467) แทนญาคูต้น เนื่องจากญาคูต้นได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงพล (เจ้าคณะอำเภอพล) ในการนี้ญาคูต้นจึงลาออกจาตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ เพื่อปปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าคณะแขวงพลที่อำเภอพล
นับเป็นสมัยแรกที่มีการบุกเบิกพระกัมมัฏฐานในจังหวัดขอนแก่น โดยจะเห็นได้จากมีการตั้งสำนักปฏิบัติธรรมเกิดขึ้นอย่างมากในสมัยนี้ โดยการนำของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งท่านได้เดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานี ถือว่าเป็นยุคทองของพระกัมมัฏฐานในจังหวัดขอนแก่น
ครูพิศาลอรัญญเขตร (จันทร์ เขมิโย ป.ธ.3) เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ ตรงกับสมัยพระยาพิศาลสารเกษตร       (พร พิมพสุต) พระยาบริหารราชอาณาเขต(ยิ้ม นิลโยธิน) และพระณรงค์ฤทธิ์ (ชาย สุมนดิษฐ์) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
ได้หลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อจากญาคูต้น ท่านได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองภายในวัดให้ดียิ่งขึ้น โดยการนำขนบธรรมเนียมประเพณีของคณะธรรมยุตมาปกครองสงฆ์ภายในวัด ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยเน้นการปฏบัติในด้านสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรม ฐนนับได้ว่าเป็นสมัยแรกที่มีการบุกเบิกพระกรรมฐานให้เกิดขึ้ในจังหวัด ขอนแก่น ที่เป็นสายของพระอาจารย์เสาร์ (หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล) พระอาจารย์มั่น (หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต) นำโดยพระอาจารย์สิงห์ (หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม) พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ซึ่งท่านได้เดินทางมาจากจังหวัดอุบลราชธานี จำทำให้สายปฏบัติเกิดขึ้เป็นจำนวนมาก ถือได้ว่าเป็นยุคของพระกรรมฐานในจังหวัดขอนแก่น
ทางด้านการศึกษาท่านได้จัดให้มีการศึกษาทั้งภาษาบาลี และนักธรรม ภายในวัด เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้มีความรู้และเข้าใจในพระธรรมวินัยให้มากยิ่งขึ้น จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทั่วไป และท่านเป็นผู้ให้กำเนิดคณะธรรมยุตในจังหวัดขอนแก่นเป็น   รูปแรก ตั้งแต่ พ.ศ.2468 เป็นต้นมา และท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูพิเศษสุตคุณ พ.ศ.2470 พระครูพิศาลอรัญญเขตร (บุญมี) มรณภาพลง ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดแทน ไนปี พ.ศ.2473 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูพิสารอรัญญเขตร
พระครูพิศาลอรัญญเขตร (จันทร์ เขมิโย ป.ธ. 3 ) ถือว่าท่านเป็นพระเถระที่มีข้อปฏิบัติอันงดงาม ที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นจำนวนมาก ท่านเป็นทั้งนักปฏิบัติ นักพัฒนา ซึ่ดูได้จากศาสนวัตถุ กฎ ระเบียบ และขนบธรรมเนียมต่างๆที่ไดก้ให้ศิษยานุศิษยารุ่นต่อมานำมาประพฤติปิบัติอยู่ จนถึงทุกวันนี้ ปี พ.ศ. 2475 ท่านอาพาธด้วยโรคลำไส้อักเสบ และได้มรณภาพในเวลาต่อมา รวมเวลาที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดครี จันทร์                                                                                                              9 ปี
การก่อสร้างปฏิสังขรณ์
พ.ศ.2467     ได้ซื้อที่ดินเพื่อขุดถมที่ก่อสร้างอุโบสถและทำเป็นที่ธรณีสงฆ์จำนวน  2 ไร่ 2 งาน 93 ตารางวา
พ.ศ.2468      ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
พ.ศ.2469       ก่อสร้างอุโบสถ และทำที่ธรณีสงฆ์ของวัด
พ.ศ.2469      รื้อถอนกุฏิหลังเดิม สมัยพระครูต้นสร้าง ปรับปรุงสร้างขึ้นใหม่เป็น    กุฏิแสงจันทร์และกุฏินฤมล
บริเวณทิศเหนือกุฏิหงษ์เทศปัจจุบันนี้
พ.ศ.2470 คุณพระเสนาราชภักดี อัยการศาลจังหวัด เป็นประธานควบคุมการรื้อถอนศาลาการเปรียญหลังเดิม ปลูกสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารไม้ ชั้นเดียว 8
ห้อง มุงสังกะสี
พ.ศ.2475      คุณหลวงราษฏร์ธุริจ สร้างแท่นพระประธานประจำอุโบสถ  สมัยที่    ท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้ขยาย
อาณาเขตของวัดออกไปทางทิศตะวันออกอีกมาก
พ.ศ. 2476    ผูกพัทธสีมา
เจ้าอาวาสรูปที่ 8   (พ.ศ.2475 – 2480)
พระอริยคุณาธาร (อุ่น  สุวณโณ ป.ธ.6) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 8 ตรงกับสมัยพระศรีวรราช (จรัญ  รัตนะประทีป) หลวงคูญประศาสตร์ และหลวงวุฒิราชรักษา (วุฒิ สาริสงคราม) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนาเมื่อท่านอยู่ที่บ้านกุดเลา  หมู่ที่ 3 ตำบลโนนทอง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น บรรพชา อุปสมบทแล้วท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ อยู่ที่วัดพระยายัง เพื่อศึกษาเล่าเรียนที่สำนักวัดบรมนิวาส พ.ศ.2465 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค หลังจากนั้นท่านได้ออกไปช่วยกิจการคณะสงฆ์ในต่างจังหวัดหลายจังหวัด เช่น จังหวัดราชบุรี จังหวัดธนบุรี จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2472 ย้ายไปพำนักที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอุดรธานี พ.ศ.2475 ย้ายมาอยู่ที่วัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ และเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระอริยคุณาธาร” เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2475 และ พ.ศ.2480 ได้ลาสิกขาบทออกไปประกอบอาชีพตามฆราวาสวิสัย
เจ้าอาวาสรูปที่ 9  (พ.ศ.2480 – 2536)
พระเทพบัณฑิต (อินทร์  ถิรเสวี ป.ธ.5) เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 9  ท่านมีภูมิลำเนาเดิมที่บ้านโนนแดงน้อย ตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เกิดเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2445 บิดาชื่อนายบุญมี สินโพธิ์ มารดาชื่อนางบุดลี  สินโพธิ์ มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 6 คน
บรรพชา
เด็กชายอินทร์  สินโพธิ์ บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสว่างวงษ์ บ้านปอแดง ตำบลบ้านแท่น (ปัจจุบัน ตำบลปอแดง) อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เมื่อ วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2460 อายุ 16 ปี โดยมีพระอธิการท้าวน้อย เป็นพระอุปัชฌาย์  หลังจากบวชแล้วก็ได้ศึกษาการอ่าน เขียน ที่จังหวัดขอนแก่นในสมัยนั้นยังไม่เจริญรุ่งเรืองมากนัก จนในปี พ.ศ.2462 สามเณรอินทร์ จึงได้กราบลาครูบาอาจารย์  ย้ายสำนักไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่  สำนักเรียนวัดบรมนิวาส พระนคร พร้อมกับสามเณรรุ่นเดียวกันจำนวน 10 รูป
อุปสมบท
เมื่ออายุครบ 20 ปีได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดบรมนิวาส เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม  พ.ศ. 2465 โดยมีพระเมธาธรรมรส (เสาร์) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอมราภิรักขิต (ไชย)  เป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูพินิตวิหารการ(ขำ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ถิรเสวี” ตั้งแต่อุปสมบทปีแรก ก็ได้มุมานะศึกษาเล่าเรียน จนสอบได้เปรียญธรรมสนามหลวงและได้เป็น “พระมหาอินทร์ ถิรเสวี”  พ.ศ. 2465 และสอบเปรียญธรรม 5 ประโยค ได้ใน พ.ศ. 2467 สำนักเรียนวัดบรมนิวาส  หลังจากได้เป็นเปรียญธรรม 5 ประโยคซึ่งสมัยนั้นนับว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นอย่างดี พ.ศ. 2470 ได้ถูกส่งให้ไปช่วยกิจการคณะสงฆ์ที่วัดมะกอก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เป็นเวลาหลายปี  จนกระทั่งพระอริยคุณาธาร (อุ่น สุวณฺโณ) ซึ่งขณะนั้นปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับคำสั่งให้ไปรับตำแหน่งรองเจ้าคณะมณฑลอุดร จึงได้นิมนต์     พระมหาอินทร์ ถิรเสวี เปรียญธรรม 5 ประโยค ไปเป็นครูสอนแทนที่วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473-2477 ซึ่งในขณะที่ท่านเป็นครูสอนปริยัติธรรมที่วัดเจดีย์หลวงก็ได้มีโอกาสพบกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต  ได้รับการแนะนำในข้อวัตรปฏิบัติแบบกรรมฐานเป็นอันมาก นอกจากนี้ยังปฏิบัติศาสนกิจในจังหวัดราชบุรี ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็น   พระครูฐานานุกรม ของเจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์   สิริจนฺโท) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ที่ “พระครูวินัยธร”
พ.ศ. 2478 ได้ย้ายมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมที่วัดศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ.2480 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ และเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น
พ.ศ.2482 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.2483 เป็นเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ปกครองทั้งสองนิกาย)
พ.ศ. 2492 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระพิศาลสารคุณ”
พ.ศ. 2494 เป็นเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ.2509 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ “พระราชพิศาลสุธี”
พ.ศ.2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)
พ.ศ.2521 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น
พระราชาคณะชั้นเทพที่“พระเทพบัณฑิต”
นับแต่ท่านได้มาอยู่วัดศรีจันทร์ท่านได้พัฒนาวัดในทุก ๆ ด้าน การศึกษาจัดให้มีทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี แผนกสามัญ และการศึกษาระดับอุดมศึกษาคือ มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ซึ่งเปิดสอนระดับปริญญาตรี เมื่อปี พ.ศ.2534 เป็นปีแรก ปรับปรุงบริเวณวัดจนเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง การปกครอง การเผยแพร่ การสาธารณสงเคราะห์      การสาธารณูปการ ได้ดำเนินการเป็นอย่างดี  เมื่อวันที่ 23 –24 มกราคม 2535 วันที่คณะศิษยานุศิษย์ได้จัดงานบำเพ็ญกุศลฉลองอายุครบ 91 ปี ถวาย และท่านได้มรณภาพด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ในเวลาเช้าของวันที่ 24 มกราคม 2535 รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ 55 ปี
การก่อสร้างปฏิสังขรณ์
ในเวลาที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2480 เป็นต้นมา ถึงปัจจุบัน มีการก่อสร้างซ่อมแซม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ถาวรวัตถุ สถานที่และขยายพื้นที่ดินของวัด ดังนี้
พ.ศ.2489  นายนกเทศ หงษ์เทศ สร้างศาลาการเปรียญขึ้น 1 หลัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวหลังคามุงสังกะสี 6 ห้อง กว้าง 12 เมตร ยาว 18 เมตร และขุดสระน้ำกว้าง 20 เมตร ยาว 20 ลึก 2 เมตร
พ.ศ.2590  ซื้อที่ดินเพิ่มบริเวณวัดที่ป่าช้า ด้านทิศเหนือของวัด 2ไร่ จากนายพงษ์ นางผัน
พ.ศ. 2492  คุณหลวง บริบาล ชวกิจ ( เกา คมสัน ) เป็นประธานสร้างเมรุเผาศพ และเป็นประธานสร้างรั้ววัดด้านหน้าติดถนนศรีจันทร์
พ.ศ.2493 คุณหลวงเทพสมบัติ ( ใหญ่ ประภาตะนันท์) เป็นประธานก่อสร้างพระปรางค์ ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ถึง พ.ศ.2503 จึงสำเร็จ
พ.ศ.2595 นายนกเทศ หงษ์เทศ สร้างกุฏิขึ้น 1 หลัง กุฏินกเทศ  หงษ์เทศ เป็นอาคารตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง กว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร
พ.ศ.2497   คุณหมอแร่ โทรักษา พร้อมด้วยบุตรธิดา สร้างกุฏิพิชาญ ฯ เป็นอาคารไม้ชั้นครึ่ง หลังคามุงกระเบื้อง
พ.ศ.2498 คุณหลวงเทพสมบัติ สร้างกูฏิเทพสมบัติเป็นอาคารตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง กว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร
พ.ศ.2500  นางจักรหลีด ประภาตะนันท์ สร้างหอระฆัง (หลังเดิมรื้อ)
พ.ศ.2502  แม่ชีบวย สร้างซุ้มประตุหน้าวัดทิศตะวันออก
พ.ศ.2503  คณะชาวเวียดนาม พร้อมกันสร้างซุ้มประตุหน้าวัดด้านทิศตะวันตก ติดถนนศรีจันทร์
พ.ศ.2505  ซ่อมแซมศาลาการเปรียญ (ต่อศาลาธรรมสวนะ)
พ.ศ.2507  นางจอม สุวรรณสม พร้อมด้วยบุตรธิดา สร้างกุฏิสุวรรณสม เป็นอาคารไม้ 2 ชั้นหลังคามุงกระเบื้องลอนคู่สีเขียว
พ.ศ.2508 สร้างโรงเรียนปริยัติธรรมขึ้น 1 หลัง กว้าง   6    เมตร  ยาว   12   เมตร  โดยมีพระราชสุเมธี (สุพจน์  อุตฺตโร) เป็นรองประธานในการก่อสร้าง
พ.ศ.2516 นายทอง – นางบัวพัน จะเรียมพันธ์ พร้อมด้วยบุตธิดาและญาติ สร้างกุฏิสำนักงานสงฆ์ขึ้น 1 หลัง เป็นอาคารตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก  2 ชั้น  4 ห้อง หลังคามุงกระเบื้อง
พ.ศ.2517 ได้รื้อถอนศาลาการเปรียญหลังเดิม (ศาลานกเทศ หงษ์เทศ) ซึ่งชำรุดทรุดโทรมสร้างเป็นกุฏิขึ้นใหม่เป็นอาคารไม้ชั้นครึ่ง หลังคามุงกระเบื้อง 2 ห้อง
พ.ศ.2518 ได้สร้างศาลาหลักคำ แทนสาลานกเทศ หงษ์เทศ กว้าง 20 เมตร ยาว 40  เมตร
เจ้าอาวาสรูปที่ 10      (พ.ศ.2535-2540)
พระราชสุเมธี (สุพจน์ อุตตโร ป.ธ.4) มีนามเดิมว่า ฮวด อาจคำภา ต่อมาเปลี่ยนเป็น สุพจน์ เกิด ณ บ้านพระคือ ตำบลพระลับ  อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2458 ตรงกับวันศุกร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ โยมบิดาชื่อ หงษ์ โยมมารดาชื่อ ปัด
บรรพชา – อุปสมบท
ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ ศรีจันทร์ โดยมีพระครูพิศาลอรัญญเขตร เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ รูปที่ 7 เป็นพระอุปัชฌาย์จากนั้นเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พำนักที่วัดพระยายัง และได้ลาสิกขาบทในเวลาต่อมาเพื่อออกไปเรียนชั้นประถมบริบูรณ์ เมื่อเรียนจบชั้นประถมแล้ว ท่านได้บรรพชาอีกครั้งที่วัดพระยายัง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2476 ณ วัดพระยายัง ตำบลพญาไท อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร โดยมี พระพุทธวิริยากร วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ อายุได้ 18 ปี (บรรพชาครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2473 ณ วัดป่าแสงอรุณ ร่วมจำพรรษากับผ้าขาวน้อย สิงห์ ภาระมาตย์ ต่อมาคือ พระธรรมฐิติญาณ วัดศรีอุบลรัตนาราม จังหวัดอุบลราชธานี)
อุปสมบท เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2479 ณ วัดพระยายัง ตำบลพญาไท อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร โดยมีพระพุทธวิริยากร วัดโสมนัสวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์  พระครูวิสุทธิคุณาธาร (สังข์) วัดพระยายัง เป็นกรรมวาจาจารย์ (ไม่มีพระอนุสาวนาจารย์) ต่อมาได้เดินทางกลับมาพำนักอยู่ที่วัดศรีจันทร์ เพื่อช่วยกิจการพระศาสนาในต่างจังหวัด
วิทยฐานะ
พ.ศ. 2475    เรียนจบชั้นประถมบริบูรณ์ จากโรงเรียนลีนะสมิต อำเภอปทุมวัน   จังหวัดพระนคร
พ.ศ. 2479    สอบได้นักธรรมชั้นตรี (วัดพระยายัง)
พ.ศ. 2480    สอบได้นักธรรมชั้นโท (วัดพระยายัง)
พ.ศ. 2481    สอบได้นักธรรมชั้นเอก (วัดศรีจันทร์)
พ.ศ. 2483    สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค (วัดศรีจันทร์)
พ.ศ. 2486     สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค (วัดศรีจันทร์)
งานปกครอง
พ.ศ. 2486    เป็นเจ้าคณะธรรมยุตอำเภอชุมแพ
พ.ศ. 2496    เป็นเจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยจังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2497    เป็นพระอุปัชฌายะในคณะธรรมยุต
พ.ศ. 2502    เป็นกรรมการบริหารวัดศรีจันทร์
พ.ศ. 2517    เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ. 2519    เป็นเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ. 2529    เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ. 2536    เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง
การศึกษา
พ.ศ. 2483    เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม
พ.ศ. 2534    เป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร และผู้อำนวยการสำนักงานวิทยา
เขตอีสาน ของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย (ปัจจุบัน เป็น
มหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย)
งานเผยแผ่
พ.ศ. 2487    เป็นกรรมการสงฆ์องค์การเผยแผ่อำเภอเมืองขอนแก่น
งานสาธารณูปการ
พ.ศ. 2502     เป็นรองประธานกรรมการสร้างอาคารเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม “จันทรังษี” เป็นอาคาร2 ชั้น
กว้าง 12 เมตร ยาว 32 เมตร   ราคาก่อสร้างทั้งสิ้น 482,319.25 บาท (สี่แสนแปดหมื่นสองพัน
สามร้อยสิบเก้าบาทยี่สิบห้าสตางค์)
สมณศักดิ์
พ.ศ. 2494    เป็นพระครูสุพจน์ประกาศ
พ.ศ. 2499    เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระวินัยสุนทรเมธี
พ.ศ. 2525    เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสุเมธี
ในช่วงหลัง ๆ สุขภาพของท่านไม่ค่อยดี จึงได้ไปพำนักรักษาสุขภาพที่วัดป่าแสงอรุณ ซึ่งเป็นที่ที่มีสภาพแวดล้อมและอากาศดีกว่าในเมือง จนกระทั่งถึงวันที่ 9 เมษายน 2540 ท่านได้มรณภาพด้วยโรคชรา รวมอายุ 82 ปี พรรษา 61 พระราชทานเพลิงศพที่เมรุชั่วคราววัดป่าแสงอรุณ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2540 รวมเวลาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส 4 ปี
เจ้าอาวาสรูปที่  11  (พ.ศ. 2541 – 2546)
พระชินวงศาจารย์ (ศรี  จนฺทวณฺโณ) ท่านมีนามเดิมว่า ศรี ไชยดี เกิดเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2461 ปัจจุบันอายุ 80 ปี พรรษา 59 ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านหันแฮด ตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
บรรพชา – อุปสมบท
บรรพเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.2477 โดยมี พระอริยคุณาธาร วัดศรีจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบทเมื่อพ.ศ.2482 ณ วัดสว่างวงษ์ โดยมีพระครูธรรมประเวที วัดศรีบุญเรืองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์คำดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดพุฒ เป็นพระอนุ-สาวนาจารย์ ต่อมาได้เข้าศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่สำนักวัดศรีจันทร์และได้ช่วยเหลือกิจการ พระศาสนาด้วยดีตลอดมา
วิทยฐานะ
พ.ศ. 2472    สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนประชานุกูล บ้านปอแดง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2485    สอบได้นักธรรมชั้นเอก (วัดศรีจันทร์)
งานปกครอง
พ.ศ. 2485    เป็นเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ. 2496    เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองขอนแก่น – หนองเรือ (ธรรมยุต)
พ.ศ. 2519    เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2532    เป็นรองเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง
พ.ศ. 2540    เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์  พระอารามหลวง
พ.ศ. 2541    เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง
พ.ศ. 2545    เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเมืองขอนแก่น (ธรรมยุต)
งานการศึกษา
พ.ศ. 2495    เป็น กรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
งานเผยแผ่
พ.ศ. 2512    เป็น พระธรรมทูตประจำจังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2514    เป็น พระอบรมศีลธรรมตามท้องถิ่น
งานสาธารณูปการ
พ.ศ. 2533    เป็นกรรมการควบคุมการก่อสร้างพระอุโบสถวัดศรีจันทร์
สมณศักดิ์
พ.ศ. 2493    เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมของพระพิศาลสารคุณ (อินทร์ ถิรเสวี)
พ.ศ. 2497    เป็นพระปลัด ฐานานุกรมของพระพิศาลสารคุณ (อินทร์  ถิรเสวี)
พ.ศ. 2499    เป็น พระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นโท  (จอ.ชท.)
พ.ศ. 2510    เป็น พระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก (จอ.ชอ.)
พ.ศ. 2517    เป็น พระครูเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ (จอ.ชพ.)
พ.ศ. 2545    เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระชินวงศาจารย์
หลังจากทอดเทียนสามัคคีประจำปี 2545 ที่วัดศรีจันทร์ เมื่อเดือนตุลาคม สุขภาพของท่านไม่ค่อยดี จึงเข้ารับการรักษาตัว ณ โรบาลศรีนครินทร์ จนกระทั่งถึงวันที่ 14 มกราคม เวลา 02.10 น.   รวมอายุ 84 ปี  พรรษา 64 พระราชทานเพลิงศพที่เมรุพิเศษ วัดศรีจันทร์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2546 รวมเวลาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ 4 ปี
เจ้าอาวาสรูปที่ 12 (พ.ศ. 2546 – 2552)
พระราชวรานุวัตร (ปกรณ์ สารภี) น.ธ.เอก, ประโยค 1 –2 มีนามเดิมว่าปกรณ์ นามสกุล วโรปการ ภูมิลำเนาคือ บ้านหนองไฮ หมู่ที่ 2 ตำบลนาจาน  อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
บรรพชา –อุปสมบท
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2508 ณ วัดสว่างหนองไฮ ตำบลนาจาน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น โดยพระครูเขมาภรณ์พิสุทธิ์ (หลี เขมาภิรโต) วัดประสิทธิ์ไพศาล เป็นพนะอุปัชฌาย์ พระครูเกษมสรณาจารย์ (บุญจันทร์ เขมิโย) เป็นพระ                          กรรมวจาจารย์ พระครูใบดีกาดำรง สุมงฺคโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ศึกษาอยู่ในสำนักพระครูเกษมสรณาจารย์ พรราที่ 3 สอบได้นักธรรมเอก มีความต้องการจะศึกษาต่อให้สูงขึ้แต่ติดภาระช่วยอาจารย์ก่อสร้างเสนาสนะภาย ในวัด เมื่อหมดภาระแล้วจึงขอลาเพื่อศึกษาต่อ ปี พ.ศ. 2516 มาอยู่วัดศรีจันทร์ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น  จนถึงปัจจุบัน อยู่รับใช้ครูบาอาจารย์สนองงานคณะสงฆ์ตามลำดับ
วิทยฐานะ
พ.ศ. 2503 สำเร็จชั้น ม.๔ โรงเรียนชุมแพวิทยา อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2510 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก (วัดสว่างหนองไฮ)
พ.ศ. 2514 สอบไล่ได้บาลีประโยค ๑-๒ (วัดศรีจันทร์)
พ.ศ. 2517 สำเร็จชั้น การศึกษาสามัญการศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ จากโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่วัดศรีจันทร์
พ.ศ. 2525 สำเร็จชั้น พ.ม. จากกรมการฝึกหัดครู กรุงเทพมหานคร (สมัครสอบ)
งานปกครอง
พ.ศ. 2513 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสว่างหนองไฮ
พ.ศ. 2521 เป็น เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ. 2523 เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง
พ.ศ. 2538 เป็น เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ. 2543 เป็น พระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2546 เป็น รก.เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง
พ.ศ. 2546 เป็น เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์
งานการศึกษา
พ.ศ. 2512 เป็น ครูสอนปริยัติธรรมแผนกธรรม วัดสว่างหนองไฮ
พ.ศ. 2517 เป็น ครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม วัดศรีจันทร์
พ.ศ. 2520 เป็น กรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
พ.ศ. 2537 เป็น ผอ.สำนักงานวิทยาเขตอีสาน สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2538 เป็น เจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ. 2546 เป็น ผู้จัดการโรงเรียนจันทรังษีวิทยา วัดศรีจันทร์
พ.ศ. 2546 เป็น เจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดศรีจันทร์
พ.ศ. 2546 เป็น ผู้บริหารศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดศรีจันทร์
พ.ศ. 2549 เป็น ผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียนวัดศรีจันทร์ (โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา)
งานเผยแผ่
พ.ศ. 2512 เป็น พระธรรมทูตประจำอำเภอสีชมพู
พ.ศ. 2514 เป็น อาจารย์อบรมศีลธรรมประจำโรงเรียนประถม มัธยม หน่วยราชการและชุมชน
พ.ศ. 2530 เป็น พระธรรมทูตต่างประเทศ ประจำประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ. 2538 เป็น รองหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ห้า ๕ ประจำจังหวัดขอนแก่น
งานสาธารณูปการ
พ.ศ. 2539 เป็น ประธานการดำเนินการการสาธารณูปการภายในวัดศรีจันทร์
พ.ศ. 2539 เป็น ประธานดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์วัดศรีจันทร์
งานพิเศษ
พ.ศ. 2538 เป็น กรรมการวารสารดอกบัวของคณะสงฆ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. 2539 เป็น ที่ปรึกษาคณะกรรมการศาสนาจังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. 2539 เป็น ประธานกรรมการคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น (ธ)
พ.ศ. 2543 ปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศอินเดีย
พ.ศ. 2544 ปฎิบัติศาสนกิจที่แระเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2544 เป็น รองประธานกรรมการมูลนิธิพระครูวิเวกวัฒนาทร (บุญเพ็ง กัปปโก)
พ.ศ. 2545 ปฎิบัติศาสนกิจที่ประเทศนิวซีแลนด์-ออสเตรเลีย
พ.ศ. 2546 เป็น ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อพระสังฆาธิการคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น (ธ)
งานสมณศักดิ์
พ.ศ. 2522    ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูปลัด ฐานานุกรมของพระเทพบัณฑิต (อินทร์ ถิรเสวี)
พ.ศ. 2524    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระอารามหลวงชั้นโท
ที่ พระครูกิตติวโรปการ (ผจล.ชท.)
พ.ศ. 2530    ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระอารามหลวงชั้นเอก ที่ พระครูกิตติวโรปการ (ผจล.ชอ.)
พ.ศ. 2537    ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรผู้ช่วยเจ้าอาวาส
พระอารามหลวงชั้นพิเศษ ที่ พระครูกิตติวโรปการ (ผจล.ชพ.)
พ.ศ. 2539    ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็น พระราชาชั้นสามัญ ที่ พระสิริสารธรรมคณี (สย.)
พ.ศ. 2546    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พรราชรคณะชั้นราช ที่ พระราชวรานุวัตร
สภาพปัจจุบันของวัดศรีจันทร์
การพัฒนาวัด   ได้ทำมาอย่างต่อเนื่อง
- ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดความร่วมรื่นและสวยงาม
- สร้างถนนคอนกรีตในบริเวณวัด
- วางท่อระบายน้ำ
- ซ่อมแซมเสนาสนะที่ชำรุด ทรุดโทรม
- ก่อสร้างที่พักพระภิกษุ  สามเณร  ซึ่งคณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ แต่ยังขาดแคลนทุนทรัพย์อยู่เป็นจำนวนมาก
การจัดการศึกษา
- ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม – บาลี
- โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ  (ระดับมัธยมศึกษา)
สถิติการศึกษาพระปริยัติธรรมภายในวัดศรีจันทร์ มีดังนี้
การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
ปีการศึกษา 2543
น.ธ. ตรี        จำนวน        77 รูป สมัครสอบ     47 รูป
สอบได้        47 รูป สอบตก         -   รูป
น.ธ. โท        จำนวน        92 รูป สมัครสอบ        68 รูป
สอบได้        4   รูป สอบตก        64 รูป
น.ธ. เอก        สมัครสอบ    17 รูป สมัครสอบ        11 รูป
สอบได้        11 รูป สอบตก        -   รูป
รวมสอบ 126 รูป        สอบได้ 62 รูป        สอบตก 64 รูป
ปีการศึกษา 2544
น.ธ. ตรี        จำนวน        51 รูป สมัครสอบ     42 รูป
สอบได้        42 รูป สอบตก         -   รูป
น.ธ. โท        จำนวน        96 รูป สมัครสอบ        66 รูป
สอบได้        19 รูป สอบตก        47 รูป
น.ธ. เอก        สมัครสอบ    10 รูป สมัครสอบ         7  รูป
สอบได้         1 รูป สอบตก         6  รูป
รวมสอบ 36 รูป        สอบได้ 26 รูป        สอบตก 10 รูป
ปีการศึกษา 2545
น.ธ. ตรี        จำนวน        22 รูป สมัครสอบ     22 รูป
สอบได้        22 รูป สอบตก         -   รูป
น.ธ. โท        จำนวน        35 รูป สมัครสอบ        35 รูป
สอบได้        9   รูป สอบตก        26 รูป
น.ธ. เอก        สมัครสอบ    14 รูป สมัครสอบ        14 รูป
สอบได้         6 รูป สอบตก         8  รูป
รวมสอบ 71 รูป        สอบได้ 37 รูป        สอบตก 34 รูป
การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
ปีการศึกษา  2544
ประโยค 1 – 2    จำนวน        22 รูป        สมัครสอบ    22 รูป
สอบได้         5  รูป        สอบตก        17 รูป
ป.ธ. 3        จำนวน        10 รูป        สมัครสอบ    10 รูป
สอบได้         -  รูป        สอบตก        10 รูป
ป.ธ. 4        จำนวน         1 รูป        สมัครสอบ     1  รูป
สอบได้         -  รูป        สอบตก         -   รูป
รวมสอบ 33 รูป        สอบได้ 5 รูป        สอบตก 28 รูป
ปีการศึกษา  2545
ประโยค 1 – 2    จำนวน        25 รูป        สมัครสอบ    25 รูป
สอบได้         -  รูป        สอบตก        25 รูป
ป.ธ. 3        จำนวน        11 รูป        สมัครสอบ    11 รูป
สอบได้         1  รูป        สอบตก        10 รูป
ป.ธ. 4        จำนวน         3 รูป        สมัครสอบ     3  รูป
สอบได้         -  รูป        สอบตก         3   รูป
รวมสอบ 39 รูป        สอบได้ 1 รูป        สอบตก 38 รูป
ปีการศึกษา  2546
ประโยค 1 – 2    จำนวน        16 รูป        สมัครสอบ    16 รูป
สอบได้         1  รูป        สอบตก        15 รูป
ป.ธ. 3        จำนวน          9 รูป        สมัครสอบ     9 รูป
สอบได้         -  รูป        สอบตก         9 รูป
ป.ธ. 4        จำนวน         4 รูป        สมัครสอบ     4  รูป
สอบได้         -  รูป        สอบตก         4  รูป
รวมสอบ 29 รูป        สอบได้ 1 รูป        สอบตก 28 รูป
จะเห็นได้ว่าวัดศรีจันทร์ นอกจากจะทำหน้าที่สำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาปลูกฝังความศรัทธากับพุทธ ศาสนิกชนแล้ว ยังทำหน้าที่ในการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณร เพื่อให้เป็นศาสนทายาทที่มีคุณภาพของพระพุทธศาสนา สมควรที่พุทธศาสนิกชนทุกคนจะไดพ้ช่วยทำนุบำรุงวัดศรีจันทร์ให้มีความเจริญ รุ่งเรืองสืบไป
พระเทพพุทธิมุนี (สันติ์ ชุตินฺธโร ป.ธ.๗, ศน.บ., M.A.) เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์(รูป ปัจจุบัน พ.ศ.2555)  พระอารามหลวง รูปที่ ๑๓  และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
 
ที่มา  http://www.thammayoot.com/blog/

ความคิดเห็น

รูปภาพของ อาคันตุกะ

น่าจะสรุปเจ้าอาวาสรูปที่ 12 ลาสิกขา แล้วเพิ่มประวัติเจ้าอาวาสรูปที่ 13 ในเอกสารหลักให้สมบูรณ์

รูปภาพของ อาคันตุกะ

ปี พ.ศ 2492 ผู้สร้างเมรุ และประตูรั้วด้านหน้า วัดศรีจันทร์ ขอนแก่น ชื่อ คุณหลวง บริบาล ชวกิจ ( เกา คมสัน ) ค่ะ เพราะดิฉันเป็นหลานแท้ๆของท่าน รบกวนท่านแก้ชื่อให้ถูกด้วยค่ะ

รูปภาพของ thammayoot
Member since:
7 กรกฎาคม 2012
Last activity:
11 ปี 19 สัปดาห์

ทำการแก้ไขแล้ว " คุณหลวง บริบาล ชวกิจ ( เกา คมสัน )"
...พ.ศ. 2492  คุณหลวง บริบาล ชวกิจ ( เกา คมสัน ) เป็นประธานสร้างเมรุเผาศพ และเป็นประธานสร้างรั้ววัดด้านหน้าติดถนนศรีจันทร์...

รูปภาพของ thammayoot
Member since:
7 กรกฎาคม 2012
Last activity:
11 ปี 19 สัปดาห์

ประวัติเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระเทพพุทธิมุนี (สันติ์ ชุตินฺธโร ป.ธ.๗, ศน.บ., M.A.)
 
พระเทพพุทธิมุนี  ชื่อจริง สันติ์ นามสกุล จุลโนนยาง ฉายา ชุตินฺธโร อายุ ๖๘ พรรษา ๔๗   
ภูมิลำเนา  บ้านเลขที่  ๒๑  หมู่ที่  ๒๑  ตำบลพระลับ  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น
บรรพชา  วันที่ ๑   เมษายน  ๒๕๐๑  วัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น  พระอุปัชฌาย์   พระวินัยสุนทรสุเมธี  วัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง
ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น
อุปสมบท  วันที่  ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๐๗  วัดบรมนิวาส  แขวงรองเมือง  เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
วิทยฐานะ   เปรียญธรรม ๗ ประโยค ศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.) ปริญญาโท M.A. จากประเทศอินเดีย โดยมีรายละเอียดการศึกษาดังนี้
พ.ศ.  ๒๕๐๐   สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔  โรงเรียนราษฎรพัฒนา   บ้านสงเปือย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ.  ๒๕๐๓   สอบได้ น.ธ.เอก สำนักเรียน วัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง อำเภอเมือง
จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ.  ๒๕๑๒             สอบได้ ป.ธ.๗ สำนักเรียนวัดบรมนิวาส  เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
การศึกษาพิเศษ   พกศ. ศน.บ. สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย, M.A. (India) ,
ศน.ด.มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ๒๕๕๔
งานด้านการปกครอง-การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๑๙      ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๓      ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการ โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๓๕ – ๒๕๓๖ – ๒๕๔๗  ดำรงตำแหน่งเป็นรองคณบดี – รองอธิการดี
วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย พระนครศรีอยุธยา, กรรมการมูลนิธิ
สิรินธร วัดมกุฏกษัตริยาราม  กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๕๒      ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธ)
พ.ศ. ๒๕๕๓      ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ พระอารามหลวง
พ.ศ. ๒๕๕๓ – ปัจจุบัน  เป็นผู้อำนวยการ-ครูใหญ่-ผู้รับใบอนุญาต โรงเรียนการกุศลวัดศรีจันทร์
และเป็นเจ้าสำนักเรียนคณะจังหวัดขอนแก่น (ธ)
        พระเทพพุทธิมุนี (สันติ์ ชุตินฺธโร ป.ธ.๗, ศน.บ., M.A.) เป็นผู้บริหารมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย หรือวัดชูจิตธรรมาราม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี ๒๕๑๙ เป็นต้นมาจนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๕๒ ได้ย้ายเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ และได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์พระอารามหลวง(ธ) ในวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ โดยได้จัดระบบการปกครองและการศึกษาภายในวัดศรีจันทร์พระอารามหลวงตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมาจวบจนถึงปัจจุบัน
ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๗      ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติสารสุธี
พ.ศ. ๒๕๔๗      ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชพุทธิมุนี
พ.ศ. ๒๕๕๔      ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพพุทธิมุนี
ปัจจุบัน พระเทพพุทธิมุนี  เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์  พระอารามหลวง รูปที่ ๑๓  และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)

แสดงความคิดเห็น