ประวัติวัดป่าแสงอรุณ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (ธ)

ประวัติ วัดป่าแสงอรุณ
ประวัติ วัดป่าแสงอรุณ  สำนักงานเจ้าคณะภาค9(ธรรมยุต) www.thammayoot.com
ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
๑. สภาพฐานะและที่ตั้งวัด
วัดป่าแสงอรุณ เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๔๙ บ้านเลิงเปือย (แอวมอง) หมู่ ๙ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต อยู่ด้านทิศตะวันออกและห่างจากตัวเมืองขอนแก่น ระยะทางประมาณ ๑ กิโลเมตร สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๘
๒. อาณาเขตของวัด
ทิศเหนือ    กว้าง ๔๔๓ เมตร     ติดถนนพระคือ-หนองโพธิ์
ทิศใต้    กว้าง ๒๐๔ เมตร     ติดถนนสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันออก     กว้าง ๒๔๓ เมตร     ติดถนนสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตก    กว้าง ๒๖๑ เมตร     ติดถนนสาธารณประโยชน์
๓. ลักษณะพื้นที่ตั้งวัด
เดิมพื้นที่ตั้งวัดไม่ราบเรียบ มีลักษณะเป็นเนินสูง จากด้านทิศเหนือราบลุ่มลงไปทางด้านทิศใต้ และพื้นที่บางส่วนก็เป็นหลุม เป็นบ่อ มีไผ่ป่าและหญ้าคาขึ้นหนาแน่น ส่วนบริเวณที่พระสงฆ์อยู่อาศัย มีไม้ยืนต้นที่สำคัญ เช่น มะค่าแต้ ตะโก ตะแบก ประดู่ สะเดา ไม้จิก ไม้แดง ต้นปีบ เป็นต้น ปัจจุบัน ได้ปรับพื้นที่ให้อยู่ในสภาพที่ราบเรียบเป็นส่วนมากแล้ว ภายในวัดได้แบ่งเขตใหญ่ ๆ ไว้ ดังนี้
๓.๑ เขตสนามสวนป่าหน้าวัด อยู่ด้านทิศเหนือเกือบตลอดแนวรั้วของวัด มีสนามหญ้า ป่าประดู่       ไม้พะยุง ที่ปลูกเสริมขึ้นมาใหม่ กำลังเจริญเติบโตสวยงาม รวมเนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่
๓.๒ เขตพุทธาวาส อยู่ถัดจากเขตสนามสวนป่าเกือบถึงช่วงกลางของวัด เป็นที่ปลูกสร้างศาลา        การเปรียญ ๒ ชั้น หอระฆัง วิหาร และอุโบสถ มีเนื้อที่ประมาณ ๘ ไร่
๓.๓ เขตสังฆาวาส ต่อจากเขตพุทธาวาส ค่อนไปด้านทิศใต้ มีเสนาสนะที่พักสงฆ์ตั้งเรียงรายเป็น ๒ แถว จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก และต่อจากทิศตะวันออกไปด้านทิศใต้ รวมแล้วมีลักษณะเป็นอักษรตัว L ตามความเหมาะสมของพื้นที่ มีเนื้อที่ประมาณ ๖ ไร่
๓.๔ เขตสาธารณสงเคราะห์ อยู่ทิศตะวันตก ตั้งแต่เหนือจดใต้ มีศาลาอเนกประสงค์ ฌาปนสถาน    ศาลาบำเพ็ญกุศล สุสาน ศาลาผู้ปฏิบัติธรรม โรงครัว ห้องน้ำ ห้องสุขา มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐ ไร่
ส่วนบริเวณที่เหลือด้านทิศตะวันออก เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ ๑ แห่ง ใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ตลอดทั้งปี
๔. ความเป็นมา
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ พระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย ป.ธ.๓) อดีต เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต) วัดศรีจันทร์ อำเภอเมือง ได้นิมนต์พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม อาจารย์พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ป.ธ.๕ ซึ่งขณะนั้น อยู่ในระหว่างปฏิบัติศาสนกิจที่จังหวัดอุบลราชธานี มาช่วยศาสนกิจที่จังหวัดขอนแก่น พระอาจารย์สิงห์พร้อมด้วยพระอาจารย์กรรมฐานหลายรูป เช่น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์คูณ พระอาจารย์ดี พระอาจารย์อุ่น      พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์สีโห พระอาจารย์สิม พระอาจารย์เพ็ง พระอาจารย์เกียรติ เป็นต้น มาตั้งวัด ณ บริเวณ โคกเหล่างา (ปัจจุบัน วัดวิเวกธรรม) ส่วนอาจารย์พระมหาปิ่น พร้อมด้วยพระอาจารย์เทศก์ เทสฺรํสี  (พระราชนิโรธรังสี) วัดหินหมากเป้ง พระอาจารย์หลุย จนฺทสโร พระอาจารย์ภูมี พระอาจารย์สีลา พระอาจารย์กงมา  และ พระอาจารย์แดง (พระสุธรรมคณาจารย์) วัดประชานิยม เป็นต้น ไปจำพรรษา ณ ดอนปู่ตา (ปัจจุบัน วัดสมศรี) บ้านพระคือ
กลางปีพุทธศักราช ๒๔๗๓ พระอาจารย์เทศก์ เทสฺรํสี พร้อมด้วยพระอาจารย์กรรมฐานหลายรูป ได้ออกมาพักปฏิบัติธรรม ณ บริเวณสถานที่สร้างวัดป่าแสงอรุณในปัจจุบัน ต่อมาอาจารย์พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ซึ่งมีอายุพรรษามากกว่าทุกรูปได้ออกมาจากดอนปู่ตา (วัดสมศรี) มาอยู่จำพรรษาร่วมกับพระอาจารย์เทศก์ จึงถือว่าผู้ที่เริ่มการบุกเบิกในการก่อตั้งและสร้างวัดป่าแสงอรุณครั้งแรก คือ พระอาจารย์เทศก์ และอาจารย์พระมหาปิ่น ดังที่ทราบอยู่โดยทั่วไปนั่นเอง
ครั้นปีถัดมา  พ.ศ. ๒๔๗๔  อาจารย์พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล  ติดตามพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม และคณะพระอาจารย์กรรมฐาน ไปช่วยการพระศาสนาที่จังหวัดนครราชสีมา ตามคำนิมนต์ของท่านเจ้าคุณ          พระธรรมปาโมกข์ จึงได้มอบหมายหน้าที่การบริหารวัดป่าพระคือ (ปัจจุบันคือวัดป่าแสงอรุณ) ให้พระอาจารย์ผู้มีพรรษารองลงมารับหน้าที่สืบต่อกันมาโดยลำดับ ปรากฏว่า วัดนี้มีพระอาจารย์กรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต แวะพักและอยู่จำพรรษาให้การอบรม ในด้านการสมาธิภาวนา แก่พุทธบริษัทติดต่อกันมาไม่ขาดระยะ
๕. การตั้งชื่อวัด
วัดป่าแสงอรุณ เมื่อตั้งครั้งแรกยังไม่มีชื่อวัดเลยทีเดียว เรียกกันแต่ว่า “วัดป่าพระคือ” เพราะ       พระอาจารย์ผู้นำสร้าง ย้ายมาจากดอนปู่ตา (วัดสมศรี) ทั้งได้รับการอุปถัมภ์จากชาวบ้านพระคือมาก่อน ครั้นมาถึงช่วงระยะที่ท่านพระอาจารย์สอน พระอาจารย์ครูจันทร์เป็นเจ้าอาวาส เห็นว่าถึงฤดูกาลงานประจำปี มีการนิมนต์พระตามวัดต่าง ๆ มารับกัณฑ์เทศน์ เป็นการไม่สะดวก ไม่อาจระบุชื่อวัดให้แน่นอนได้ จึงคิดตั้งชื่อวัดขึ้น ครั้งแรกให้ชื่อว่า       วัดป่าอรุโณ (คงหมายถึง อรุโณทัย) ต่อมาท่านเจ้าคุณพระวินัยสุนทรเมธี (พระราชสุเมธี) วัดศรีจันทร์ อดีต         เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต) เห็นว่าเป็นชื่อที่ขาด ๆ วิ่น ๆ ฟังไม่เพราะ มีเนื้อความไม่สมบูรณ์ จึงเปลี่ยนเสียใหม่ว่า “วัดป่าแสงอรุณ” จวบจนทุกวันนี้
๖. ทรัพย์สิน
๖.๑ ที่ดินตั้งวัด    จำนวน    ๓๙ ไร่ (น.ส.๓ ก.)
๖.๒ ที่ธรณีสงฆ์    จำนวน    ๒ ไร่ ๓ งาน ๖๓ ตารางวา (น.ส.๓ ก.)
๖.๓ เสนาสนะสิ่งปลูกสร้าง แบ่งออกเป็น ๒๙ ประเภท มีดังนี้
๑) สิมอีสานประยุกต์ (โบสถ์) สถาปัตยกรรมแบบอีสานตอนบนผสมผสานกับสถาปัตยกรรมส่วนกลาง เพื่อให้สวยสดโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๔ เมตร สูงจากพื้นดินเดิม ๖๐ เมตร เสา ๕๒ ต้น หน้าต่าง ๑๔ ช่อง ประตู ๓ ช่อง หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ดปลาแบบโบราณ มีหอระฆัง ๔ หอ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วที่มั่นคงถาวรโดยตลอด ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน รวม ๙ ปี สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๔๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่สิบเก้าล้านบาท รวมทั้งทองคำที่ปลียอดสิมอีสาน)
๒) วิหารปัญญาพลานุสรณ์ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคาทรงไทย ๑ หลัง กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร ค่าก่อสร้าง ๑,๖๘๗,๖๒๓.๗๕ บาท (หนึ่งล้านหกแสนแปดหมื่นเจ็ดพันหกร้อยยี่สิบสามบาทเจ็ดสิบห้าสตางค์)
๓) ศาลาอเนกประสงค์ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ ชั้น ๑ หลัง กว้าง ๒๑ เมตร ยาว ๔๕ เมตร ค่าก่อสร้าง ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)
๔) ศาลาหลวงพ่อองค์ดำ ๑ หลัง กว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๕ เมตร รวมค่าก่อสร้าง ๓๐๐,๐๐๐ บาท   (สามแสนบาทถ้วน)
๕) ศาลาพระบูรพาจารย์ ๑ หลัง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๗ เมตร ค่าก่อสร้าง ๒๕๐,๐๐๐ บาท          (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๖) ศาลาพระไม้ใบลาน ๑ หลัง กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๖ เมตร ค่าก่อสร้าง ๓๐๐,๐๐๐ บาท           (สามแสนบาทถ้วน)
๗) ศาลาหอฉันมุงหญ้า ๑ หลัง กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๙ เมตร ค่าก่อสร้าง ๑๐๐,๐๐๐ บาท        (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
๘) ตำหนักสมเด็จทรงอีสานประยุกต์ ๑ หลัง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ค่าก่อสร้าง ๒,๑๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน)
๙) ศาลาผู้ปฏิบัติธรรม ๑ หลัง กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร มีทั้งหมด ๑๖ ห้อง ค่าก่อสร้าง ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)
๑๐) ศาลากวนข้าวทิพย์ ๑ หลัง กว้าง ๓ เมตร ยาว ๒๔ เมตร ค่าก่อสร้าง ๕๐,๐๐๐ บาท             (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
๑๑) พิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตอีสาน ๑ หลัง พร้อมด้วยหุ่นปั้นแสดงวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวอีสาน จำนวน ๖ เรื่อง ค่าก่อสร้าง ๒๕๐,๐๐๐ บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๑๒) พิพิธภัณฑ์แม่แบบสิมอีสาน ๑ หลัง กว้าง ๕.๕๐ เมตร ยาว ๒๔ เมตร ค่าก่อสร้าง ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๑๓) โรงเรียนพระปริยัติธรรมชั่วคราว จำนวน ๔ หลัง
- กว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร จำนวน ๒ หลัง
- กว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๒๑ เมตร จำนวน ๒ หลัง
รวมค่าก่อสร้าง ๓๕๐,๐๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๑๔) สำนักงานเจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต) ๑ หลัง กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๔ เมตร ค่าก่อสร้าง ๓๕๐,๐๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๑๕) ห้องสมุดแบบทรงไทย ๑ ชั้น ๑ หลัง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ค่าก่อสร้าง ๒๑๐,๐๐๐ บาท (สองแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน)
๑๖) กุฏิ ๓ ประเภท ดังนี้
๑) กุฏิคอนกรีตเสริมเหล็กต่างขนาด ทั้งหมด ๒๖ หลัง ดังนี้
- กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๘ เมตร จำนวน ๑ หลัง
- กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร จำนวน ๕ หลัง
- กว้าง ๖ เมตร ยาว ๖ เมตร จำนวน ๓ หลัง
- กว้าง ๕ เมตร ยาว ๕ เมตร จำนวน ๑ หลัง
- กว้าง ๓ เมตร ยาว ๗ เมตร จำนวน ๓ หลัง
- กว้าง ๓ เมตร ยาว ๔ เมตร จำนวน ๓ หลัง
- กว้าง ๓ เมตร ยาว ๖ เมตร จำนวน ๒ หลัง
- กว้าง ๔ เมตร ยาว ๙ เมตร จำนวน ๒ หลัง
- กว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร จำนวน ๑ หลัง
- กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
- กว้าง ๓ เมตร ยาว ๒๓ เมตร จำนวน ๑ หลัง
- กว้าง ๕ เมตร ยาว ๒๑ เมตร จำนวน ๑ หลัง
- กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๘ เมตร จำนวน ๒ หลัง
๒) กุฏิครึ่งปูนครึ่งไม้ ๒ ชั้น ๑ หลัง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๙ เมตร
๓) กุฏิไม้ถาวร ๒ หลัง กว้าง ๕.๕๐ เมตร ยาว ๕.๕๐ เมตร
รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๐,๕๐๐,๐๐๐ (สิบล้านห้าแสนบาทถ้วน)
๑๗) ซุ้มพักร้อนทรงหกเหลี่ยม ๑ หลัง กว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร ค่าก่อสร้าง   ๕๐,๐๐๐ บาท  (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
๑๘) ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๒ หลัง
- กว้าง ๑๑ เมตร     ยาว ๒๐ เมตร     ๑ หลัง
- กว้าง ๗ เมตร     ยาว ๑๕ เมตร     ๑ หลัง
ค่าก่อสร้าง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)
๑๙) ศาลาร่วมใจ ๑ หลัง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ค่าก่อสร้าง ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
๒๐) ศาลาเก็บศพ พร้อมที่บรรจุ ๑๒ ห้อง ๑ หลัง กว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๑๘ เมตร ค่าก่อสร้าง ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน)
๒๑) ฌาปนสถานคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ค่าก่อสร้าง ๖๐๕,๐๐๐ บาท (หกแสนห้าพันบาทถ้วน)
๒๒) โรงน้ำปานะ ๑ หลัง กว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร ค่าก่อสร้าง ๑๐๐,๐๐๐ บาท                    (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
๒๓) ธนาคารข้าวเปลือก ๑ หลัง (โครงการธนาคารข้าว) พร้อมเครื่องสีข้าว กว้าง ๔ เมตร ยาว ๗ เมตร ค่าก่อสร้าง ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๒๔) โรงครัว ๑ หลัง กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร ค่าก่อสร้าง ๑๕๐,๐๐๐ บาท                        (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๒๕) ซุ้มประตู ๓ ซุ้ม กว้าง ๖ เมตร สูง ๗ เมตร ค่าก่อสร้าง ๒ ซุ้ม ๆ ละ ๕๒๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนสองหมื่นบาทถ้วน) อีกซุ้มหนึ่งค่าก่อสร้าง ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) รวมค่าก่อสร้าง ๓ ซุ้ม เป็นเงินทั้งสิ้น ๑,๑๙๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทถ้วน)
๒๖) กำแพงรอบวัด
ด้านหน้าวัด ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กแบบมาตรฐาน ยาว ๔๔๓ เมตร ค่าก่อสร้าง ๖๗๑,๒๐๐ บาท (หกแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันสองร้อยบาทถ้วน)
ที่เหลืออีก ๓ ด้าน ฐานและเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ฝาผนังอิฐบล็อก ฉาบปูน ความยาว ๗๐๘ เมตร รวมค่าก่อสร้าง ๑,๐๖๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านหกหมื่นบาทถ้วน)
รวมค่าก่อสร้างกำแพงรอบวัดทั้งสิ้น ๑,๗๓๑,๒๐๐ บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนสามหมื่นหนึ่งพันสองร้อยบาทถ้วน)
๒๗) ห้องสุขา มีทั้งหมด ๒ ส่วนด้วยกัน คือ
๑) สำหรับพระภิกษุสามเณร มี ๒ หลัง ดังนี้
- กว้าง ๓ เมตร ยาว ๗ เมตร มี ๔ ห้อง
- กว้าง ๓ เมตร ยาว ๑๘ เมตร มี ๑๐ ห้อง
ค่าก่อสร้าง ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๒) สำหรับประชาชนทั่วไป มี ๖ หลัง คือ
- ด้านทิศตะวันออก (เล็ก)    ๑    หลัง
- ด้านทิศตะวันตก (เล็ก)      ๒    หลัง
- ด้านทิศตะวันออก (ใหญ่) กว้าง ๓ เมตร ยาว ๕๑ เมตร มี ๓๔ ห้อง ๑ หลัง
- ด้านทิศตะวันตก (ใหญ่) มี ๒ หลัง คือ
ก) กว้าง ๓ เมตร ยาว ๑๒ เมตร มี ๗ ห้อง ๑ หลัง
ข) กว้าง ๓ เมตร ยาว ๒๑ เมตร มี ๑๔ ห้อง ๑ หลัง
รวมค่าก่อสร้าง ๕๘๕,๐๐๐ บาท (ห้าแสนแปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
๒๘) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ภายในบริเวณวัด กว้าง ๕ เมตร หนา ๑๕ เซนติเมตร ระยะทาง ๑,๒๑๔.๖ เมตร ค่าก่อสร้าง ๒,๙๖๕,๕๘๒.๕๐ บาท (สองล้านเก้าแสนหกหมื่นห้าพันห้าร้อยแปดสิบสองบาทห้าสิบสตางค์)
๒๙) สุเมธอาศรม และลานธรรม ๑ แห่ง รวมค่าก่อสร้าง ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
๓๐) บรรณศาลาเทพวรคุณ (ศาลาทรงไทย) สำหรับพักผ่อน กว้าง ๕ เมตร ยาว ๙ เมตร พร้อมปรับภูมิทัศน์รอบบริเวณศาลา รวมค่าก่อสร้าง ๖๗๐,๐๐๐ บาท (หกแสนเจ็ดหมื่นบาท)
๓๑) ศาลาไม้แก่นขาม ใช้ไม้แก่นขามก่อสร้างทั้งสิ้น กว้าง ๕ เมตร ยาว ๗ เมตร ค่าก่อสร้าง ๖๕๐,๐๐๐ บาท (หกแสนห้าหมื่นบาท)
๓๒) จัดสวนหย่อมและลานปฏิบัติธรรม ในวาระครบ ๕ รอบ ๖๐ ปี พระเทพวรคุณ ภายในบริเวณวัดป่าแสงอรุณ รวมค่าใช้จ่าย ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)
๓๓) ปรับภูมิทัศน์สระน้ำหลังตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ใช้งบประมาณ ๑,๙๐๐,๐๐๐ บาท       (หนึ่งล้านเก้าแสนบาท)
รวมค่าก่อสร้างทั้ง ๓๓ รายการ เป็นเงินทั้งสิ้น ๘๓,๑๑๙,๔๐๖.๒๕ บาท
(แปดสิบสามล้านหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นเก้าพันสี่ร้อยหกบาทยี่สิบห้าสตางค์)
๖.๔ ปูชนียวัตถุ
๑) พระพุทธรูปหลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร (ปางมารวิชัย) สมัยเชียงแสน ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๑ นิ้ว สูง ๑ ฟุตเศษ เป็นพระคู่บารมีของวัด ช่วยสนับสนุนสร้างวัดให้เจริญก้าวหน้ากระทั่งถึงปัจจุบัน
๒) พระพุทธรังสิโยภาสสุขพิพัฒน์ เป็นพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร (ปางมารวิชัย) ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในสิมอีสาน (โบสถ์) ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๙ นิ้ว สูง ๒ เมตรเศษ
๓) พระสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์ดำ ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๙ นิ้ว สูง ๒ เมตรเศษ ประดิษฐานที่ศาลา   พระเจ้าองค์ดำ
๔) พระประธานปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๐ นิ้ว สูง ๑ เมตรเศษ ประดิษฐานที่ ชั้น ๒ วิหารปัญญาพลานุสรณ์
๕) พระประธานปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๒ เมตรเศษ ประดิษฐานที่ ศาลาอเนกประสงค์
๖) พระแกะสลักไม้แก่นขาม ปางรำพึง สูง ๒ ฟุต
๗. การบริหารและการปกครอง
เนื่องจากวัดป่าแสงอรุณ สร้างก่อนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พุทธศักราช ๒๔๘๔ ผู้นำด้านการปกครองภายในวัด ซึ่งเรียกว่า “เจ้าอาวาส” ก็บริหารสืบต่อกันมา โดยไม่มีการแต่งตั้งแต่อย่างใด แต่ก็เคารพเชื่อฟังกันตามอายุ พรรษา ด้วยดีมาตลอด เริ่มมีการแต่งตั้งเป็นทางการ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ซึ่งมีลำดับ เจ้าอาวาส ดังนี้
๑) พระอาจารย์เทศก์ เทสฺรํสี (พระราชนิโรธรังสี)    พ.ศ. ๒๔๗๓–๒๔๗๔
๒) พระอาจารย์สอน    พ.ศ. ๒๔๗๔–๒๔๗๖
๓) พระอาจารย์ครูจันทร์    พ.ศ. ๒๔๗๖–๒๔๘๐
๔) พระอาจารย์บุญ    พ.ศ. ๒๔๘๐–๒๔๘๕
๕) พระอาจารย์สี    พ.ศ. ๒๔๘๕–๒๔๘๘
๖) พระหลวงปู่นนท์    พ.ศ. ๒๔๘๘–๒๔๙๔
๗) พระอาจารย์สมพร    พ.ศ. ๒๔๙๔–๒๕๐๐
๘) พระอาจารย์สุวรรณ ขนฺติโก    พ.ศ. ๒๕๐๐–๒๕๐๔
๙) พระอาจารย์ทองม้วน อตฺตคุตฺโต    พ.ศ. ๒๕๐๔–๒๕๐๙
๑๐) พระอาจารย์สุวรรณ ขนฺติโก    พ.ศ. ๒๕๐๙–๒๕๑๔
๑๑) พระอาจารย์ทองม้วน อตฺตคุตฺโต    พ.ศ. ๒๕๑๕–๒๕๑๙
๑๒) พระธรรมดิลก  (สมาน สุเมโธ ป.ธ.๙)    พ.ศ. ๒๕๑๙–ปัจจุบัน
๘. จำนวนพระภิกษุสามเณรจำพรรษา
เนื่องจากสภาพแวดล้อมรอบวัด ไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติธรรมเช่นสมัยก่อน คณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น (ธ) จึงมีมติให้วัดป่าแสงอรุณ ตั้งเป็นสำนักเรียนเปิดรับพระภิกษุสามเณร เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและแผนกบาลี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยรับพระภิกษุสามเณรจากตำบลและอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดขอนแก่น รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงด้วย จึงมีพระภิกษุสามเณรเข้าอยู่จำพรรษามากขึ้น ตามสถิติ ๗ ปีย้อนหลัง ดังนี้
พ.ศ. ๒๕๔๒    จำนวน    ๕๓    รูป
พ.ศ. ๒๕๔๓    จำนวน    ๔๘    รูป
พ.ศ. ๒๕๔๔    จำนวน    ๔๙    รูป
พ.ศ. ๒๕๔๕    จำนวน    ๔๙    รูป
พ.ศ. ๒๕๔๖    จำนวน    ๔๓    รูป
พ.ศ. ๒๕๔๗    จำนวน     ๓๙    รูป
พ.ศ. ๒๕๔๘    จำนวน     ๓๔    รูป
พ.ศ. ๒๕๔๙    จำนวน     ๓๗    รูป
วัดป่าแสงอรุณ แม้จะเปลี่ยนสภาพจากสายปฏิบัติมาเป็นวัดสายศึกษา ที่เรียกว่า “ปริยัติ” เพราะสภาพแวดล้อมดังที่กล่าวแล้ว แต่ปฏิปทาของพระบูรพาจารย์สายปฏิบัติทางวัดก็ยังรักษาไว้ ไม่ให้หายสาบสูญไปทั้งหมด เช่น การกวาดลานวัดทุกวัน การทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น การอบรมพระภิกษุสามเณรประจำวัน และการฝึกสมาธิ เป็นต้น
๙. เกียรติคุณ และเป็นที่ตั้งสำนักงานต่าง ๆ
- พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นที่ตั้ง กิจกรรมการส่งเสริม อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การประกวดสรภัญญะ กลองยาว และแคน เป็นต้น จนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นสำนักศาสนศึกษาตัวอย่าง และเป็นสำนักศาสนศึกษาดีเด่นตามลำดับ
- พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
- พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นที่ตั้ง สำนักงานเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
- พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นสถานที่ประชุมตรวจธรรมสนามหลวงชั้นตรี ของคณะสงฆ์ ภาค ๘,๙,๑๐,๑๑ (ธรรมยุต)
- พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นสถานที่ประชุม อบรม สัมมนา ของหน่วยงาน ของรัฐ สถานศึกษา และเอกชนหลายหน่วยงาน จนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นที่ตั้ง สำนักงานวารสารดอกบัว ของคณะสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธรรมยุต)
- พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
- พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นที่ตั้ง สำนักงานมูลนิธิคณะสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นที่ตั้ง สำนักงานมูลนิธิวัดป่าแสงอรุณ
- พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น
- พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นที่ตั้ง สำนักงานเจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต)
- พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นที่ตั้ง สำนักงานกรรมการบริหารคณะสงฆ์ธรรมยุต
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นที่ตั้ง หน่วยกู้ชีพมูลนิธิวัดป่าแสงอรุณ
- พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นที่ตั้ง ธนาคารข้าว โค กระบือ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อนุมัติโดยมหาเถรสมาคม
- พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นสถานที่ศึกษา อบรม และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น เช่น ตัวอักษร
ไทยน้อย   ตัวอักษรธรรม ปริวรรตวรรณคดีอีสาน เป็นต้น
รับรองตามนี้
(พระธรรมดิลก)
เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ
สำนักงานฯ
www.thammayoot.com , Email: info@thammayoot.com
ที่มา  http://www.thammayoot.com/blog/

ความคิดเห็น

รูปภาพของ อาคันตุกะ

กระผมนายวินัย ลาคำ ลูกชายคนสุดท้องของพ่อเพ็งแม่ปุ่น ลาคำ เป็นบักทิดชาวบ้านแอวมองครับบวช ๑ พรรษา (ฉายาพระวินัย โอภาโส)ปัจจุบันมารับราชการอยู่ที่เชียงรายขอพระอาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงครับผมอยากเห็นทุกคนรักษาฮีตฮอยต่างๆของบ้านเราให้กลับมาหน่อยตอนนี้ต่างคนต่างอยู่มากเกินไปแต่ก่อนจำได้ว่าเวลามีเทศกาลงานประเพณีต่างๆจะมีความสามัคคีกันมาก เช่น การจัดงานสงกรานต์จะมีการรดน้ำขอพรกับผู้สูงอายุถึงบ้านทุกหลังคาเรือนตกเย็นมีการละเล่นของหนุ่มสาว มีรำวง ทำบุญตักบาตรตอนเช้า ดูแล้วมีความสามัคคีมาก งานบุญผะเหวดมีการแห่ผ้าผะเหวด หนุ่มสาวช่วยงานเตรียมสถานที่ที่วัดพัฒนาวัดตอนกลางคืนสนุกมาก
งานลอยกระงหรือบุญหนุ่มสาว หนุ่มสาวจะมีกิจกรรมต่างๆร่วมกันสร้างความสามัคคีในแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งมันอาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยแต่ยังไงก็ขอให้รักษาไว้ให้ได้มากที่สุดก็แล้วกัน
สำนึกรักบ้านเกิด
วินัย ลาคำ (ทิดพล)

รูปภาพของ อาคันตุกะ

กระผม ได้ไปช่วยงานที่วัดป่ารัตน์มงคล บ้านโกทา กรมทหาร ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้เป็นงานศพ ของพระครูพิทักษ์ เจ้าคณะตำบลสาวถี และได้มีพระผู้ใหญ่ เป็นเจ้าคณะตำบลศิลา และมีญาติโยมของพระครู ไม่ทราบว่ากี่คน และมีคณะกรรมการทางวัด ไม่ทราบว่ากี่คน ได้ทำการค้นลื้อ กุฎีพระครู ซึ่งเป็นวันแรกของการเอาศพออกจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบเงินสด บนกุฎีพระครู เป็นจำนวนเงินสด 2 ล้านบาท ซึงเงินจำนวนดังกล่าวนี้น่าพิจารณาเป็นเงินสดส่วนตัวของพระครูท่านมากกว่าจะเป็นเงินของสงฆ์ แต่พระผู้ใหญ่ได้ประกาศให้ประชาชนที่ไปในงานสวดอภิธรรมตอนเย็นวันว่า จำนวนเงินดังกล่าวนี้ ให้นำเข้าเป็นเงินสงฆ์ กระผม จึงเกิดปัญหาอยากจะขอนมัสการเรียนถามข้อส่งใส่ดังนี้
1.ในกรณีที่พบเงินสดจำนวนอย่างนี้ ทางปฏิบัติที่ถูกทางสงฆ์ หลักการปฏิบัติ คือ?
2.เป็นไปได้ไหมพระผู้ใหญ๋ระดับเจ้าคณะตำบล และท่านบวชมานานเป็นไปได้ไหมที่ท่านจะมีเงินเก็บ จากการถวายของญาติโยม(ด้วยเสน่ห์หา)
3.ผมยังเคยถวายท่านเป็นค่าน้ำมันรถยนต์เลย 1,000 บาท แล้วญาติโยมคนอื่นๆ อีกละ
4.ผมเคยบวชที่วัดป่ารัตนมงคล ผมลาบวช 7 วัน ยัง เก็บเงินสดได้ 2,700 บาท ทั้งเงิน ถวาย จากทุกๆวันพระ และ จากการออกบิณฑบาตรด้วย
ผมขอนมัสการเรียนถาม 4 ข้อ ช่วยตอบและเป็นวิทยาทานด้วยครับ และขอนมัสการฝากให้พระคุณเจ้าสืบถามและให้ความยุติธรรมแก่ท่าานพระครูเทพพิทักษ์ด้วนเทอญ (และข้อที่หน้าคิดอีกข้อครับ) ถ้าสมมุตุิว่าผม ผมจะประกาศบอกว่า ได้พบเงินจำนวน 2 ล้านบาท ผมคิดว่า ดังนี้
1.ศพของท่านตั้งไว้นาน ผมจะหา ตู้ที่เป็นตู้แก้วใส่ไว้ ติดแอร์มาใส่ศพ ให้สมวิทญฐานะของท่าน
2.ดอกไม้ประดับจะต้องเป็นดอกไม้ที่เป็นพาสติกที่สวยงาม
3.เงินที่จะนำมาบริหารจัดการในงานสศพของท่าน(ใช้จ่ายในทุกๆกรณีที่เกิดขึ้นและมีบิลรายจ่ายพร้อมมีผู้บริหารจัดการ)
4.เหลือจากนั้นจาก อาจจะนำไปทำอะไรสักอย่าที่เป็นประโยชน์กับทางวัน หรือ ให้ญาติของท่านไปทำบุญที่บ้านเกิดของท่าน

นี่ข้อคิดเห็นของผมอาจจะไม่สำคัญแต่ด้วยเหตุและผลบางการาควรจะมีผู้มีอำนาจหน้าที่มาดูแล ให้เป็นธรรม ขอนมัสด้วยความเคารพ สนิท เพียแก้ว

รูปภาพของ thammayoot
Member since:
7 กรกฎาคม 2012
Last activity:
10 ปี 45 สัปดาห์

ประวัติ พระธรรมดิลก
ประวัติ พระธรรมดิลก (สมาน สุเมโธ ป.ธ.๙, ปร.ด., ศน.ด.)
เจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ

ตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
 
ประวัติโดยสังเขป:
๑. นาม-ที่อยู่
ชื่อ พระธรรมดิลก ฉายา สุเมโธ อายุ ๖๖ พรรษา ๔๖ น.ธ. เอก ป.ธ. ๙ วัดป่าแสงอรุณ เลขที่ ๔๔๙ หมู่ ๙ บ้านเลิงเปือย ตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โทรศัพท์ ๐-๔๓๔๖-๖๑๙๒, ๐-๘๑๔๘-๖๕๔๗๕, ๐-๘๔๗๙-๖๗๓๖๖
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
๑. เจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต)
๒. เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ (วัดพัฒนาตัวอย่าง)
๓. ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
๔. เจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดป่าแสงอรุณ
๒. สถานะเดิม
ชื่อ สมาน นามสกุล อุบลพิทักษ์ เกิดวัน ๖ ๔ฯ ๑๒ ค่ำ ปี ระกา วันที่ ๒๓ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ บิดา ไหล มารดา อ่อน บ้านเลขที่ ๑๐๕ หมู่ที่ ๙ บ้านเลิงเปือย (แอวมอง) ตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
๓. บรรพชา
วัน ๗ ฯ๑๓ ๘ ค่ำ ปี กุน วันที่ ๑๘ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ วัดศรีจันทราวาส ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น พระอุปัชฌาย์ พระวินัยสุนทรเมธี วัดศรีจันทราวาส ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
๔. อุปสมบท
วัน ๖ ๔ฯ ๑๒ ค่ำ ปี มะเส็ง วันที่ ๑๒ เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๘ วัดศรีจันทราวาส ตำบลในเมือง อำเภอขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น พระอุปัชฌาย์ พระพิศาลสารคุณ วัดศรีจันทราวาส ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
๕. สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๒๔ พระราชาคณะ ชั้น สามัญ ที่ พระศรีปริยัติเวที
พ.ศ. ๒๕๓๕ พระราชาคณะ ชั้น ราช ที่ พระราชวรานุวัตร
พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชาคณะ ชั้น เทพ ที่ พระเทพวรคุณ
พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชาคณะ ชั้น ธรรม ที่ พระธรรมดิลก
๖. วิทยฐานะ
พ.ศ. ๒๕๐๐ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
พ.ศ. ๒๕๑๐ ประโยคพิเศษครูมูล
พ.ศ. ๒๕๐๔ นักธรรมชั้นเอก
พ.ศ. ๒๕๐๗ เปรียญธรรม ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๑๐ เปรียญธรรม ๖ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๑๗ เปรียญธรรม ๙ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับประกาศนียบัตร “ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา” จากมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับประกาศนียบัตร “ศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์” จากมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย
๗. ตำแหน่ง -หน้าที่การงาน ในอดีต
พ.ศ. ๒๕๐๘ เลขานุการ พระสุนทรธรรมภาณ เจ้าอาวาสวัดป่าชัยวัน
พ.ศ. ๒๕๐๙ ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี วัดศรีจันทร์ ขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๑๐ ก่อตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี วัดป่าชัยวัน
ขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๑๓ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าชัยวัน จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๑๔ ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี วัดป่าแสงอรุณ ขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๑๕ ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี วัดนรนาถสุนทริการาม
กทม.
พ.ศ. ๒๕๑๖ กรรมการ ตรวจประโยคธรรมสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๑๗ กรรมการ แผนกตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร กทม.
พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๑ ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ศูนย์ศึกษาบาลีอีสาน
ธรรมยุต วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. ๒๕๒๒ รองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๒๙ รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๗ เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๑ รองอธิการบดี สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขตอีสาน
พ.ศ. ๒๕๔๑-๒๕๔๙ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
พ.ศ. ๒๕๓๗ รองเจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๔๗ กรรมการบริหารกองทุน “๙๐ พรรษา สมเด็จพระญาณวังวร สุวัฒนมหาเถร”
๘. ตำแหน่ง -หน้าที่การงาน ในปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๑๖ กรรมการ ตรวจประโยคบาลีสนามหลวง
พ.ศ. ๒๕๒๑ เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ
พ.ศ. ๒๕๒๑ กรรมการ ประชุมตรวจประโยคนักธรรมชั้นตรี และธรรมศึกษาชั้นตรี
สนามหลวง คณะสงฆ์ ภาค ๘-๙-๑๐-๑๑ (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๒๖ ครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักศาสนศึกษาวัดป่าแสงอรุณ ขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๒๘ เจ้าสำนักศาสนศึกษาดีเด่นวัดป่าแสงอรุณ ขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๓๐ อนุกรรมการคณะธรรมยุต (ติดต่อกัน ๑๒ สมัย)
พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ โดย สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช เสด็จประทานตราตั้ง ณ วัดป่าแสงอรุณ ขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๔๑-ปัจจุบัน เจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต)
พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ปรึกษา อนุกรรมการคณะธรรมยุต
พ.ศ. ๒๕๔๒ กรรมการ ฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม
พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้อำนวยการ ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติวัดป่าแสงอรุณ ขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
๙. ตำแหน่ง -หน้าที่การงานพิเศษ
-วิทยากร อบรมประจำค่ายลูกเสือแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น
-เลขานุการวารสารดอกบัว ของคณะสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธรรมยุต)
-มนตรีบวร โครงการหมู่บ้านบวร จังหวัดขอนแก่น
-อาจารย์พิเศษ บรรยายหลักสูตรพระพุทธศาสนา ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
-วิทยากร ของกรมการศาสนา (เป็นครั้งคราว)
-รองประธาน มูลนิธิคณะสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
-ประธาน กองทุนผู้ปฏิบัติธรรมวัดป่าแสงอรุณ ขอนแก่น
-กรรมการศึกษา การศาสนาและวัฒนธรรม จังหวัดขอนแก่น
-กรรมการพิเศษ วินิจฉัยอธิกรณ์แก้ปัญหาการปกครองคณะสงฆ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธรรมยุต)
-ประธานริเริ่มประชุมสังฆอุโบสถสามัคคีคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น
เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ ถึงปัจจุบัน
-ประธานริเริ่มฟื้นฟูประเพณี ให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน
เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ ถึงปัจจุบัน
-ประธาน มูลนิธิวัดป่าแสงอรุณ
-ประธาน ทุนนิธิพัฒนาชาวไร่ชาวนาราชวรานุวัตร วัดป่าแสงอรุณ ขอนแก่น
๑๐. ผลงาน ด้านวรรณกรรม
๑๐.๑ หนังสือประเภทต่าง ๆ
๑) นานาชีวิต. ขอนแก่น, ขอนแก่นการพิมพ์, ๒๕๔๐, ๖๘ หน้า. เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยได้รับการตีพิมพ์ และอนุญาตให้พิมพ์ ในงานต่าง ๆ สิบกว่าครั้ง รวมทั้งหมด ๒๐,๐๐๐ เล่ม
๒) ทางรอดของชาวพุทธ. ขอนแก่น, ขอนแก่นการพิมพ์, ๒๕๔๑, ๒๓ หน้า.
๓) เขียนประจำในคอลัมน์ “นานาชีวิต” ลงในหนังสือวารสารดอกบัววารสารของพระสังฆาธิการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ธรรมยุต)
๔) อดีตชาติเป็นชาย หลังตายเกิดเป็นหญิง. ขอนแก่น, ขอนแก่นการพิมพ์, ๒๕๔๔, ๔๘ หน้า. พิมพ์แจกและอนุญาตให้จัดพิมพ์ ๗ ครั้ง รวม ๒๐,๐๐๐ เล่ม และได้จัดสร้างเป็นภาพยนตร์ เข้าประกวดที่เมือนคานส์ ฝรั่งเศส ได้ชนะเลิศมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒
๕) นับถือพระพุทธศาสนาแล้วได้อะไร. ขอนแก่น, ขอนแก่นการพิมพ์. ๒๕๔๔, ๒๗ หน้า.
๖) มงคลธรรมนำชีวิต. ขอนแก่น, ขอนแก่นการพิมพ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑, ๒๕๔๗, ๑๖๙ หน้า. เป็นหนังสือที่ได้รับการกล่าวถึง และนำไปประกอบด้านการศึกษา การเทศนา และประยุกต์ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวน ๕,๐๐๐ เล่ม และพิมพ์ในงานต่างๆ รวม ๑๕,๐๐๐ เล่ม
๑๐.๒ วรรณกรรมอื่น ๆ
-ปาฐกถาธรรมพ่อของแผ่นดิน -ปาฐกถาธรรมพระคุณแม่
-มงคลธรรมนำชีวิต -บทความ -ชีวิตกถา
-ธรรมกถาสาระชีวิต -ผญา -สาราทานกถา
-บทร้อยกรอง -เรียงถ้อยร้อยคำ -ยอดธรรมคำกลอน
-ธรรมสาร -บทสรภัญญะ -บทธรรมเทศนา
-คติธรรมสอนใจ -กลอนลำอีสาน
๑๑. ผลงานต่าง ๆ และรางวัลที่ได้รับ
๑๑.๑ ด้านการปกครอง
พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับประทานเกียรติบัตรการปฏิบัติศาสนกิจที่ดีมาก ด้านการปกครอง จาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ตึก สว. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับประทานเกียรติบัตรการปฏิบัติศาสนกิจที่ดีมาก ด้านการปกครองจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ตึก สว. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
๑๑.๒ ด้านการศึกษาและการศึกษาสงเคราะห์
พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับประทานเกียรติบัตร พัด เชิดชูเกียรติ สำนักศาสนศึกษาตัวอย่าง (ปัจจุบันสำนักศาสนศึกษาดีเด่น) จากสมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) ณ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานประกาศเกียรติคุณและเสาเสมาธรรมจักร ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในวันวิสาขบูชา ประเภท ส่งเสริมการศึกษาใน พระพุทธศาสนา สาขา การศึกษาพระปริยัติธรรม จาก สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับประทานเกียรติบัตรการปฏิบัติศาสนกิจที่ดีมากด้านการศึกษาจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ตึก สว. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๓๖ ถึงปัจจุบัน จัดพิธีมอบทุนการศึกษา แก่นักเรียน นักศึกษา ทั้งที่เป็นพระภิกษุสามเณร และฆราวาส ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโทปริญญาเอก และมอบอุปกรณ์การศึกษา แก่โรงเรียน และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เป็นประจำทุก ๆ ปี
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับประกาศนียบัตร ในฐานะผู้บริจาคทรัพย์ โครงการ “ทอดผ้าป่าสมทบทุนสร้างสภาคณะกรรมการพระนักศึกษา” มหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับประกาศเกียรติคุณ ในการบริจาคคอมพิวเตอร์ พร้อมเครื่องพริ้นเตอร์ ๑ ชุด แก่โรงเรียนพระคือหนองโพธิ์วิทยา จาก โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ๒ (สมาน สุเมโธ) จากทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับประทานเกียรติบัตรในการปฏิบัติภารกิจพระพุทธศาสนาดีเด่นในด้านการ ศึกษา จาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับประกาศเกียรติคุณ ในการบริจาคทุนการศึกษา จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) จาก กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับเกียติบัตร ในการเป็นผู้อุปถัมภ์การก่อสร้างอาคารเรียน ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) จำนวน ๕๓,๗๐๐ บาท (ห้าหมื่นสามพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) จาก พระธรรมปริยัติโมลี เจ้าคณะภาค ๙ ประธานสภาวิทยาเขตขอนแก่น
๑๑.๓ ด้านการสาธารณูปการ
พ.ศ. ๒๕๒๘ พัฒนาวัดป่าแสงอรุณ ให้มีสภาพสมบูรณ์ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนกระทั่ง ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา
พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับยกย่องจาก สภาตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ว่าเป็นวัดพัฒนาก้าวหน้าที่สุดในรอบ ๓ ปี ของตำบลพระลับ
พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ของกรมการศาสนา
พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี ๒๕๓๗ โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประทานเกียรติบัตร พัด ไตรจีวร และย่ามเชิดชูเกียรติ ณ วัดบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับประทานเกียรติบัตรการปฏิบัติศาสนกิจที่ดีมาก ด้านการสาธารณูปการ จาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ตึก สว. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างสิมอีสาน (อุโบสถ) และหอระฆังทรงอีสานประยุกต์ ๔ หลัง
พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นประธานก่อสร้างศาลาการเปรียญ – อุโบสถ – ฌาปนสถาน วัดต่างๆ ในหลายจังหวัด จนถึงปัจจุบัน ( วัดป่าสุเมธาราม อ.เมือง, วัดกลางธรรมนิมิต กระนวน, วัดป่าศรีชมพู สีชมพู)
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับประทานเกียรติบัตรการสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้างซุ้มประตู ด้านทิศตะวันออก ๑ ซุ้ม ขนาดใหญ่ ราคา ก่อสร้าง ๕๒๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนสองหมื่นบาท)
พ.ศ. ๒๕๔๕ สร้างถนนคอนกรีตภายในวัดขนาดความกว้าง ๕ เมตร หนา ๑๕ เซนติเมตร ระยะทาง ๑,๒๑๔.๖ เมตร ราคาก่อสร้าง ๒,๙๖๕,๕๘๒.๕๐ บาท (สองล้านเก้าแสนหกหมื่นห้าพันห้าร้อยแปดสิบสองบาทห้าสิบสตางค์)
พ.ศ. ๒๕๔๖ สร้างลานอเนกประสงค์หน้าสิมอีสาน (โบสถ์) เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก ขนาดความกว้าง ๒๙ เมตร ความยาว ๓๐ เมตร รวมราคาก่อสร้าง ๔๐๘,๙๐๐ บาท (สี่แสนแปดพันเก้าร้อยบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๗ สร้างศาลาพระไม้-ใบลาน ซึ่งมีขนาดความกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๖ เมตร ราคาก่อสร้าง ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๗ สร้างศาลาพระบูรพาจารย์ ๑ หลัง ซึ่งมีขนาดความกว้าง ๗ เมตร ยาว ๗ เมตร ราคาก่อสร้าง ๓๕๐,๐๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๗ สร้างโรงครัว ๓ หลัง หลังที่ ๑ ขนาดความกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร หลังที่ ๒ ขนาดความกว้าง ๖ เมตร ยาว ๔๕ เมตร หลังที่ ๓ ขนาดความกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๘ เมตร รวมราคาก่อสร้าง ๕๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๗ สร้างน้ำ-ห้องสุขา ด้านทิศตะวันออก (ใหญ่) ขนาดความกว้าง ๓ เมตร ยาว ๕๑ เมตร มี ๓๔ ห้อง ๑ หลัง รวม ๕๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๗ สร้างสุเมธอาศรม และลานธรรม ๑ แห่ง รวมราคาก่อสร้าง ๒๕๐,๐๐๐ บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๗ สร้างที่พักผ่อน ทรงหกเหลี่ยม ขนาดความกว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร ๒ หลัง ราคาก่อสร้าง ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๗ ก่อสร้างสิมอีสานประยุกต์ (โบสถ์) สถาปัตยกรรมแบบอีสานตอนบนผสมผสาน กับสถาปัตยกรรมส่วนกลาง เพื่อให้สวยสดโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมีขนาดความกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๔ เมตร สูงจากพื้นดินเดิม ๖๐ เมตร เสา ๕๒ ต้น หน้าต่าง ๑๔ ช่อง ประตู ๓ ช่อง หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ดปลาแบบโบราณ มีหอระฆัง ๔ หอ ล้อมรอบด้วยกำแพงที่มั่นคงถาวรโดยตลอด ใช้เวลาดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน รวม ๑๐ ปี สิ้นงบประมาณในการ ก่อสร้าง ๔๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่สิบเก้าล้านบาท รวมทั้งทองคำที่ปลียอดสิมอีสาน)
พ.ศ. ๒๕๔๘ หอประชุม ๗๒ ปี ดร.ประภา ภักดิ์โพธิ์ ขนาดความกว้าง ๒๓ เมตร ยาว ๕๒ เมตร จำนวนหนึ่งหลัง สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๗ ล้านบาท
พ.ศ. ๒๕๔๘ สร้างศาลา ๖๐ ปี ขนาดความกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๓ เมตร รวมสองหลัง สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๔๙ ก่อสร้างศาลา ๖๑ ปี ขนาดความกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๘ เมตร จำนวนหนึ่งหลัง สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๕๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๐ ก่อสร้างศาลาไม้พันปี ขนาดความกว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๓๐ เมตร จำนวนหนึ่งหลัง สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง ๒,๕๕๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๑ ดำเนินการก่อสร้างศาลาผู้ปฎิบัติธรรม ขนาดความกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๗๘ เมตร งบประมาณในการก่อสร้าง ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบห้าล้านบาทถ้วน) พร้อมห้องน้ำ-สุขา
พ.ศ. ๒๕๕๔ ก่อสร้างศาลาริมน้ำ ๖๖ ปี ๒ หลัง เพื่อถวายการต้อนรับพระมหาเถระ และแขกผู้มีเกียรติ ใช้งบประมาณ ๑,๐๐๓,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านสามพันบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๔ ปรับภูมิทัศน์หน้าเมรุ-ถมสระน้ำเก่า-เทคอนกรีต รอบเมรุ ทาสีเมรุใหม่ ใช้งบประมาณ ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๔ ก่อสร้างตำหนักสมเด็จฯ ๑ หลัง สถาปัตยกรรมร่วมสมัย ขนาดความกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๒ เมตร หลังคามุงกระเบื้องตราช้างแบบใหม่ล่าสุด พื้นปูด้วยกระเบื้องแบบใหม่ ใช้งบประมาณ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านห้าแสนบาทถ้วน)
๑๑.๔ ด้านการสาธารณสงเคราะห์
พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับเข็มจำลองโนม่าร์ จาก ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับประทานเกียรติบัตรการปฏิบัติศาสนกิจที่ดีมาก ด้านการสาธารณสงเคราะห์ จาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ ตึก สว. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับโล่รางวัลดีเด่นผู้สนับสนุนงานประชาสงเคราะห์ดีเด่นประจำปี กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จาก รองนายกรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับเกียรติบัตร ในฐานะผู้สนับสนุน การวิ่งเฉลิม พระเกียรติโคกสีมินิมาราธอน ครั้งที่ ๒ จาก ผู้อำนวยการโรงเรียนโคกสีพิทยาสรรพ์
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับเกียรติบัตร ในฐานะผู้ร่วมเชิดชูคุณค่าและสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทยให้ยั่งยืน จาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้รับโล่เกียรติยศ ผู้เป็นองค์อุปถัมภ์โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ๒ (สมาน สุเมโธ) เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๐ ปี จากรองนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับเกียรติบัตร ในฐานะผู้สนับสนุน โครงการฝึกอบรมวิชาผู้บังคับบัญชาลูกเสือ-เนตรนารีวิสามัญผู้ต้องขัง จำนวน ๕,๐๐๐ บาท (ห้าพันบาทถ้วน) จาก ผู้บัญชาการเรือนจำกลางขอนแก่น
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับเกียรติบัตร ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนการจัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชาเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา มหาราชินี จังหวัดขอนแก่น ประจำปี ๒๕๔๗ จาก อธิบดีกรมการศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๕” โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี
พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้จัดโครงอุปาทบทหมู่ข้าราชการตำรวจเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ระหว่างวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จำนวน ๑๙๓ รูป รวม ๗ วัน ณ วัดป่าแสงอรุณ จังหวัดขอนแก่น โดย พลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เป็นประธานฝ่ายฆราวาส
-โครงการ เดิน – วิ่ง การกุศลวิสาขบูชา ณ ถนนภูมิธรรมหน้าวัดป่าแสงอรุณขอนแก่น วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๖.๑๙ น.
- โครงการทำบุญตักบาตร และบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗๙ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๔
รับรองตามนี้
พระธรรมดิลก เจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดป่าแสงอรุณ เจ้าของประวัติ
สำนักงานเจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต) http://www.thammayoot.com
ติดต่อ Email: info@thammayoot.com

แสดงความคิดเห็น