หลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาคัดเลือกสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น
หลักเกณฑ์และแนวทางในการพิจารณาคัดเลือกสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น
ประจำปี 2552
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
........................................
คุณสมบัติเบื้องต้นของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น
1. ด้านสถานที่
- มีความสะอาด เงียบสงบ ร่มรื่น ไม่มีเสียงรบกวนจากภายนอก
- มีอาคาร หรือศาลาปฏิบัติธรรมที่สามารถให้ผู้ปฏิบัติธรรมนั่งฟังการบรรยายธรรมและฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานได้ไม่แออัดเกินไป
- มีที่พัก ห้องน้ำ ห้องสุขาที่สะอาด จำนวนเพียงพอ และแยกตามเพศของผู้ใช้ สำหรับห้องพัก ควรมีการป้องกันแมลงและสัตว์ที่จะมารบกวนหรือทำอันตรายได้อย่างดี
2. ด้านวิทยากร
- มีพระวิปัสสนาจารย์หรือผู้ฝึกสอนกัมมัฎฐานที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ หรือมีความสามารถในการสอนกัมมัฎฐานตามหลักมหาสติปัฎฐานสูตรเป็นอย่างดี สามารถตอบข้อซักถาม และสอบอารมณ์กัมมัฎฐานได้
- มีวิทยากรบรรยายธรรมที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ หรือมีความสามารถในการเทศนา และบรรยายธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจหลักธรรม และสามารถที่จะน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติได้
- พระภิกษุหรือบุคคลที่เป็นวิทยากรมีความประพฤติดี ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
3. ด้านการบริหารจัดการ
- เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมมีความสนใจและเห็นความสำคัญของการศึกษา ปฏิบัติและเผยแผ่ธรรมอย่างแท้จริง
- มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่โปร่งใส เป็นระบบ สามารถเปิดเผยและตรวจสอบได้
- มีบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่เพียงพอในการทำหน้าที่ดูแลด้านที่พัก อาหาร น้ำดื่ม ห้องน้ำ ห้องสุขา และการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ปฏิบัติธรรม
- มีการดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยทั้งภายในสำนักปฏิบัติธรรมและบริเวณโดยรอบ
ในกรณีที่มีผู้ปฏิบัติธรรมจำนวนมาก สามารถประสานงานขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือหน่วยอาสาสมัคร เพื่อมาดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างทั่วถึง - มีการดูแลด้านสุขอนามัย กล่าวคือ มีตู้ยาสามัญไว้ประจำหรือมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ในกรณีที่มีผู้เข้าปฏิบัติธรรมจำนวนมาก ควรจัดเตรียมเจ้าหน้าที่จากสถานพยาบาลอยู่ดูแล ถ้าหากมีผู้ป่วยฉุกเฉินก็สามารถนำส่งสถานพยาบาลได้ทันที
ถ้าหากไม่ได้จัดหาเจ้าหน้าที่พยาบาลอยู่ดูแลประจำ ต้องมีการประสานไว้กับสถานพยาบาลใกล้เคียง ให้สามารถปฐมพยาบาลหรือรับผู้ป่วยฉุกเฉินไว้รักษาตัวได้ทันที - มีการจัดการปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องตลอดปี และจัดทำตารางการฝึกอบรมปฏิบัติธรรมไว้อย่างชัดเจน ในรูปแบบของแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับ หรือเอกสารสิ่งพิมพ์
- มีกฎข้อบังคับหรือระเบียบปฏิบัติของวัดหรือสำนักที่จัดพิมพ์ไว้เป็นเอกสารเผยแพร่ หรือติดประกาศไว้ ณ บริเวณที่เห็นได้โดยชัดเจน
- มีการประสานงานกับชุมชนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของวัดในรูปของคณะกรรมการดำเนินงานในด้านต่างๆ เช่น การจัดอาหาร น้ำดื่ม และการบริการต่างๆ เป็นต้น
- มีการประชาสัมพันธ์การจัดโครงการปฏิบัติธรรมในรูปแบบต่างๆ และจะต้องไม่เป็นไปในลักษณะเชิงธุรกิจ
- มีการจัดเก็บข้อมูลสถิติของผู้เข้ารับการปฏิบัติธรรมอย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นได้โดยสะดวก
- 10808 reads
ความคิดเห็นล่าสุด
7 ปี 22 สัปดาห์ ก่อน
7 ปี 23 สัปดาห์ ก่อน
7 ปี 27 สัปดาห์ ก่อน
7 ปี 30 สัปดาห์ ก่อน
7 ปี 32 สัปดาห์ ก่อน
8 ปี 7 สัปดาห์ ก่อน
8 ปี 8 สัปดาห์ ก่อน
8 ปี 8 สัปดาห์ ก่อน
8 ปี 8 สัปดาห์ ก่อน
8 ปี 8 สัปดาห์ ก่อน